วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฟ้อนดาบล้านนา

การฟ้อนดาบ




การฟ้อนดาบมีที่มาจากศิลปะการต่อสู้ของชายชาวล้านนาแต่โบราณ โดยผู้เรียนจะต้องเรียนฟ้อนเชิงมือเปล่าให้คล่องแคล่วเสียก่อนจึงจะเรียน ฟ้อนดาบ หรือฟ้อนประกอบอาวุธอื่นๆ ต่อไป แม่ลายฟ้อนของฟ้อนดาบจะคล้ายกับแม่ลายฟ้อนของฟ้อนเชิง แม่ลายฟ้อนของแต่ละครูก็จะแตกต่างกันไป แต่พ่อครูคำ กาไวย์ และอาจารย์ธีรยุทธ ยวงศรี ได้ร่วมกันสืบค้นและเรียบเรียงแม่ลายฟ้อนไว้ให้สอดคล้องกันเพื่อง่ายต่อการ จดจำโดยอาศัยแนวจากการพรรณนาชื่อแม่ลายในการร่ายรำอาวุธจากมหาชาติฉบับสร้อยสังกรกัณฑ์มหาราช เพื่อสอนนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ดังนี้ ช่วง ที่ ๑ ไหว้ครูและขอขมาอภัย เริ่มจากวางดาบ ไขว้กัน เอาสันดาบเข้าหากันดาบทั้งสองเล่มนั้นห่างกันพอประมาณ จากนั้นหากผู้ฟ้อนเป็นผู้ชายให้เดินตีวงรอบดาบ ๑ รอบ แล้วเริ่มตบบะผาบหรือฟ้อนสาวไหมอย่างใดอย่างหนึ่ง จบแล้วจึงนั่งลงไหว้หากผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิงให้นั่งไหว้ ๓ ครั้ง จากนั้นจับดาบ ไขว้ดาบจรดหน้าผาก แล้วเงยหน้าขึ้นก้มหน้าลง แล้วชักดาบลงไว้ข้างหลังทั้งสองข้างแล้วซุยขึ้นเป็นท่าบวกดาบโดยเริ่มจากด้านหน้าตรงก่อนแล้วหันไปทางขวาแล้วบิด ไปทางซ้าย

จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่แม่ลายที่ได้เรียบเรียงไว้ ๓๒ ท่า ดังนี้
๑. บิดบัวบาน
๒. เกี้ยวเกล้า
๓. ล้วงใต้เท้ายกแหลก
๔. มัดแกบก้องลงวาง
๕. เสือลากหางเหล้นรอก
๖. ช้างงาตอกต๋งเต๊ก
๗. ก่ำแปงเป๊กดินแตก
๘. ฟ้าแมบบ่ตันหัน
๙. จ๊างงานบานเดินอาจ
๑๐. ป๋าต้อนหาดเหินเหียน
๑๐. อินทร์ตือเตียนถ่อมถ้า
๑๒. เกิ๋นก่ายฟ้า
๑๓. สวกก้นพญาอินทร์
๑๔. แซดซูดน้ำบินเหิน
๑๕. สางลานเดินเกี้ยวก่อม
๑๖. กิมไฮฮ่อม
๑๗. ถีบโฮ้ง
๑๘. ควงโค้งไหล่สองแขน
๑๙. วนแวนล้วงหนีบ
๒๐. ชักรีบแทงสวน
๒๑. มนม้วนสีไคล
๒๒. แทงสวนใหม่ถือสัน
๒๓. จ๊างตกมันหมุนวงลวงรอบ
๒๔. เสือคาบรอกลายแสง
๒๕. สินส้น
๒๖. สินป๋าย
๒๗. ลายแทง
๒๘. กอดแยง
๒๙. แทงวัน
๓๐. ฟันโข่
๓๑. บัวบานโล่
๓๒. ลายสาง

เมื่อฟ้อนจบทั้ง ๓๒ ท่าแล้ว “นบน้อมขอกราบลงวาง”แล้วจบด้วยการฟ้อนดาบ “พญาเข้าเมือง”
และปัจจุบันนี้ ท่าฟ้อนดาบทั้ง ๓๒ ท่าที่พ่อครูคำ กาไวย์ และอาจารย์ธีรยุทธ ยวงศรี ได้เรียบเรียงไว้นี้ถือเป็นท่าฟ้อนดาบมาตรฐานที่เป็นต้นแบบให้กับผู้ที่ เริ่มต้นเรียนฟ้อนดาบอุปกรณ์ในการแสดงการฟ้อนดาบทั่วไปนิยมใช้ดาบเมืองจำนวน ๒ เล่ม โดยจะวางดาบไว้กับพื้น แล้วผู้ฟ้อนจะไหว้ครูบาอาจารย์ ฟ้อนเชิง ตบบะผาบ แล้วจึงจะมาหยิบดาบร่ายรำไปจนครบ ๓๒ ท่า แล้ววางดาบลงกับพื้นอีกครั้ง






ศรัณ สุวรรณโชติ ฟ้อนเจิงฟ้อนดาบสาธิตวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวล้านนา ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ฟ้อนดาบ โฮงเฮียนสืบสานล้านนา

กลองสะบัดชัย




กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี,ชัย ดิถี และชนะมาร

การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

รูปร่างของกลองสะบัดชัย

รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้น เท่าที่พบมีแห่งเดียว คือกลองสะบัดชัยจำลองทำด้วยสำริด ขุดพบที่วัดเจดีย์สูง ตำบลบ้านหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลองสะบัดชัยดังกล่าวประกอบด้วยขนาดกลองสองหน้าเล็ก 1 ลูก กลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก ฆ้องขนาดหน้ากว้างพอ ๆ กับกลองใหญ่อีก 1 ใบ พร้อมไม้ตีอีก 3 อัน หน้ากลองตรึงด้วยหมุดตัดเรียบมีคานหามทั้งกลองและฆ้องรวมกัน

ใช้ตีบอกสัญญาณ

1.สัญญาณโจมตีข้าศึก

2.สัญญาณบอกข่าวในชุมชน

เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ

วรรณกรรมเรื่องอุสสาบารส ผูกที่12 ตอนพระขิตราชรบศึกชนะก็มีการตีกลองสะบัดชัยเฉลิมฉลอง ‘' ส่วนว่าริพลโยธาพระขิตราชก็ตี กลองสะบัดชัย เหล้นม่วนโห่ร้องอุกขลุกมี่นันนัก เสียงสนั่นก้องใต้ฟ้าเหนือดินมากนัก ปุนกระสันใจเมืองพานมากนัก หากได้แล้วก็ตีค้อง กลองสะบัดชัย สงวนม่วนเหล้น กวัดแก่วงดาบฟ้อนไปมา

การแต่งกายของผู้แสดง

ผู้แสดงใส่ชุดพื้นเมืองเหนือ

ส่วนที่พบโดยทั่วไป คือกลองสะบัดชัยที่แขวนอยู่ตามหอกลองของวัดต่าง ๆ ในเขตล้านนา ซึ่งมักจะมีลักษณะเหมือนกัน คือมีกลองสองหน้าขนาดใหญ่ 1 ลูก หน้ากว้างประมาณ 30 – 35 นิ้ว ยาวประมาณ 45 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุด ( ล้านนาเรียก ‘' แซว่ ) โดยที่หมุดไม่ได้ตัดเรียบคงปล่อยให้ยาวออกมาโดยรอบ ข้าง ๆ กลองใหญ่ มีกลองขนาดเล็ก 2 - 3 ลูก เรียกว่า ลูกตุบ ‘' กลองลูกตุบทั่วไปมักมีสองหน้าบางแห่งมีหน้าเดียว ขนาดหน้ากว้างประมาณ 8 – 10 นิ้ว ความยาวประมาณ 12 – 15 นิ้ว หน้ากลองหุ้มด้วยหนังตรึงด้วยหมุดเช่นกัน

ดังที่ได้กล่าวแล้ว กลองสะบัดชัยในปัจจุบันเป็นกลองที่ย่อส่วนมาจากวัด เมื่อย่อขนาดให้สั้นลง โดยหน้ากว้างยังคงใกล้เคียงกับของเดิม ลูกตุบก็ยังคงอยู่ ลักษณะการหุ้มหน้ากลองเหมือนของเดิมทุกประการ ตัวกลองติดคานหามสำหรับคนสองคนหามได้ ต่อมาไม่นิยมใช้ลูกตุบ จึงตัดออกเหลือแต่กลองใหญ่ ลักษณะการหุ้มเปลี่ยนจากการตรึงด้วยหมุดมาใช้สานเร่งเสียง เพราะสะดวกต่อการตึงหน้ากลองให้ตึงหรือหย่อนเพื่อให้ได้เสียงตามที่ต้องการ ข้างกลองประดับด้วยไม้แกะสลักซึ่งนิยมแกะเป็นรูปนาค และมีผ้าหุ้มตัวกลองให้ดูสวยงามอีกด้วย





เล่าเรื่องล้านนา ตำนานกลองสะบัดชัย



การตีกลองสะบัดชัย 1 โดย อาจารย์ สนั่น ธรรมธิ



การตีกลองสะบัดชัย 2 โดย อาจารย์ สนั่น ธรรมธิ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://sites.google.com/site/jarussangumput/home/prawati-swn-taw


วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประเพณีเลี้ยงดง

ประวัติความเป็นมาของพิธีเลี้ยงดง (ผีปู่แสะ ย่าแสะ)




มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงเชิงดอยคำได้พบยักษ์สามตนพ่อแม่ลูก ซึ่งยังชีพด้วยเนื้อสัตว์และเนื้อมนุษย์ เมื่อยักษ์ทั้งสามเห็นพระพุทธเจ้าก็จะจับกิน แต่พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาจนยักษ์ทั้งสามเกรงในพระบารมีจึงยอมแสดงความเคารพ พระพุทธเจ้าจึงทรงเทศนาและให้ยักษ์ทั้งสามรักษาศีลห้า 

แต่ผีปู่แสะย่าแสะไม่อาจรับศีลห้าได้ตลอดจึงขอกินเนื้อมนุษย์ปีละสองคน เมื่อพระพุทธองค์ไม่อนุญาต ก็ขอต่อรองลงมาเรื่อย ๆ จนขอกินเนื้อสัตว์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสบอกให้ไปถามเจ้าเมืองเอาเอง แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไป โดยไว้พระเกศธาตุที่ต่อมากลายเป็นพระธาตุดอยคำ

ผีปู่แสะย่าแสะได้รับอนุญาติจากเจ้าเมืองให้กินควายได้ปีละครั้ง จึงได้มีประเพณีฆ่าควายเอาเนื้อสดสังเวยผีปู่แสะย่าแสะ ส่วนบุตรของปู่แสะย่าแสะได้บวชเป็นฤาษีชื่อสุเทวฤาษี ปัจจุบันพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้นหรือแรม 14 ค่ำ เดือน 9 บริเวณเชิงชายป่าด้านตะวันออกของตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับพิธีเซ่นสรวงนี้ ทำเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และเชื่อว่าจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล และผลผลิตทางการเกษตรจะได้ผลดี โดยถือว่าเป็นการปัดเป่าไม่ให้สิ่งเลวร้ายมากินบ้านเมือง 

ในพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะนั้น ชาวบ้านจะเลี้ยงผีขุนหลวงวิรังคะ ซึ่งหมายปองนางจามเทวีในอดีตไปพร้อมกันด้วย ก่อนเริ่มพิธีจะมีการขึ้นท้าวทังสี่ คือพิธีบอกกล่าวแก่ท้าวจตุโลกบาต มีการสร้างปราสาท คือหอผีชั่วคราวทำด้วยโครงไม้ไผ่ 12 หอ ซึ่งปราสาทของปู่แสะย่าแสะจะมีขนาดใหญ่กว่าผีอื่น ๆ โดยถือว่าผีปู่แสะย่าแสะนี้เป็นผียักษ์ 

สัตว์ที่จัดมาสังเวยผีปู่แสะย่าแสะคือควายเขาดำ และต้องเป็นควายรุ่นหนุ่มที่มีเขาสั้นแค่หู ในช่วงเช้ามืดของวันงาน ควายจะถูกฆ่า (การฆ่าจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย) เชื่อกันว่า ควายเทียบได้กับชีวิต ควายได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนมา ดังนั้น ควายถือได้ว่าเป็นตัวแทน ของคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อแก้ข้อขัดแย้ง ส่วนต่างๆ ของควายเทียบได้กับส่วนต่างๆ ของสังคม ที่ต้องประกอบกันจึงจะบรรลุเป้าหมาย สำหรับเนื้อควายที่ใช้บูชาแล้วนั้นจะเอามากินร่วมกัน และยังมีการตั้งชื่อลูกตามชื่อของควายที่ตายไปด้วย เพื่อเป็นการตอบแทน

หน้าที่ในการเตรียมเครื่องเซ่นต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่จะต้องจัดเตรียมให้เสร็จก่อนวันงานไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ในพิธีกรรมพบว่ามีความเชื่อในเรื่อง "ขวัญ" ด้วย โดยการที่นำสายสิญจน์ในพิธีมาสู่ขวัญให้แก่ลูกหลานที่มาร่วมพิธี

คนทรงเป็นย่าแสะจะเป็นผู้หญิง ในระหว่างทำพิธีจะหลับตา เพราะเชื่อว่าถ้าลืมตามองใครคนนั้นจะตาย เชื่อว่าย่าแสะสามารถบันดาล ให้ฝนตกได้ ผีปู่แสะย่าแสะเป็นสิ่งที่เป็นที่นับถือของชาวเชียงใหม่มาแต่อดีต คนโบราณเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ บ้านเมืองจะหาความสงบสุขไม่ได้ และจะเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ

เมื่อเริ่มพิธี ปู่อาจารย์หรือตั้งเข้า (คือคนประกอบพิธี) จะทำพิธีอัญเชิญผีปู่แสะย่าแสะก่อนอื่น ๆ โดยมีใจความว่าขอเชิญผีปู่แสะย่าแสะเปนเค้า ( “ เป๋นเก๊า ” ) คือเป็นประธานของผีทั้งหลาย พร้อมทั้งผีลูกหลานเสนาอำมาตย์ทั้งปวงมารับเครื่องสังเวย และขอให้ผีทั้งหลายช่วยกันดูแลรักษาบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุข 

จากนั้นผีปู่แสะย่าแสะจะเข้าทรงม้าขี่หรือคนทรงก็จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่จัดไว้แล้วอวยชัยให้พรต่าง ๆ
ต่อจากนั้นผีในร่างทางก็จะไปหยิบอาหารจากกระทงในปราสาททั้ง 12 มากินอย่างละเล็กละน้อยพร้อมทั้งดื่มสุราที่จัดไว้ให้ 

จากนั้นก็ไปนั่งบนหนังควายและโยกหัวควายไปมา พร้อมกับนำเอาเนื้อสดที่แขวนไว้ที่หอเคี้ยวกันไปด้วย เมื่อเคี้ยวกินเนื้อและดื่มสุราแล้ว ม้าขี่ก็จะนำเอาท่อนไม้มาทำที่แคะฟันแสดงว่าอิ่มหนำสำราญแล้วและท้ายสุด ม้าขี่จะล้มลงนอนกับพื้นสักครู่หนึ่ง เมื่อผีลาทรงแล้วก็ลุกขึ้นมามีอาการเป็นปกติ

ภายหลังการนำเอาพิธีกรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยมีการทำบุญเลี้ยงพระก่อนการทำพิธีสังเวยและในช่วงที่พระสงฆ์สวดอยู่นั้น ก็เชิญเอาพระบฎหรือแผ่นผ้าที่วาดรูปพระพุทธเจ้ามาแขวนให้แกว่งไกวไปมา เพื่อแสดงว่าพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เมื่อม้าขี่ไปถึงก็จะใช้ไม้ตีที่พระบฎนั้น เป็นที่ว่าพยายามทำร้ายพระพุทธเจ้าและตอนท้ายก็ยอมรับพุทธานุภาพ 

พิธีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะนี้ ปฏิบัติกันมานานร่วมร้อยปีติดต่อกันมาแล้ว เพราะเป็นความเชื่อถือว่าหากผู้ใดได้เข้าร่วมพิธีแล้วจะรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง ไม่ป่วย ไม่เจ็บ ไม่ไข้











เลี้ยงดง 2556 



เลี้ยงดง 2557

แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=658

ประเพณีสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง)


ชาวล้านนาถือเอาเดือนเมษายน หรือเดือน 7 เหนือ เป็นเดือนเปลี่ยนศักราชใหม่ เรียกกันว่า ปี๋ใหม่

           ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของชาวล้านนา มีความแตกต่างจากสงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ทั้งระยะเวลา กิจกรรม ความเชื่อ และความมุ่งหมาย ดังนั้น ปีใหม่เมืองของชาวล้านนา จึงมีวันและกิจกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติกัน มากกว่าสงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ซึ่งประกอบด้วย วันสังขานต์ล่อง วันเน่า วันพญาวัน วันปากปี วันปากเดือน และวันปากยาม

           ปีใหม่เมืองของชาวล้านนาตรงกับเดือนเมษายน ซึ่งอยู่ในฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนมาก และช่วงเวลาว่างจากการทำไร่และเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จึงถือเอาวันปีใหม่เป็นวันทำบุญใหญ่วันหนึ่งในรอบปี เป็นวันที่สนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นน้ำสงกรานต์ให้เย็นฉ่ำ ถือขันน้ำรดน้ำให้แก่กัน มีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มะกอน ม้าจ๊กคอก อีโจ้ง (โยนหลุม) จึงเป็นโอกาสที่เด็กๆหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ได้พบเจอกันและทำกิจกรรมร่วมกันผ่านประเพณีต่างๆ เช่น สรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด ดำหัว ทำบุญที่วัดในวันพญาวัน

           ก่อนจะถึงวันปีใหม่ บรรยากาศในทุกหมู่บ้านคึกคักด้วยการจัดเตรียมช่อตุงปีใหม่ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยนั่งตัดตุง หลากหลายสีมีตุงไส้หมู ตุงรูปคน ตุงสิบสองราศี ส่วนแม่เรือนพ่อเรือนปัดกวาดแผ้วถางบ้านให้สะอาดงดงาม เพื่อชำระล้างความสกปรกที่หมักหมมมาตลอดทั้งปี และต้อนรับสิ่งดีงามที่จะเกิดขึ้นในปีใหม่

           การคำนวณวันขึ้นปีใหม่ในแต่ละปี โหราจารย์หรือผู้รู้ด้านวัฒนธรรมล้านนาจะเป็นผู้คำนวณ และประกาศปีใหม่เมืองของปีนั้นๆ เรียกว่า ปักขะทืนล้านนา หรือหนังสือปีใหม่เมือง โดยถือเอาวันที่ราศีมีนย้ายเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกันในแต่ละปีเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้วจึงประกาศให้ชาวเมืองรับรู้ และปฏิบัติตนตามประเพณี เช่น วันที่ ๑๔ เมษายน อาจเป็นวันสังขานต์ล่อง ๑๕ เมษายน อาจเป็นวันเน่า ๑๖ เมษายน อาจเป็นวันพญาวัน เป็นต้น ปัจจุบัน ชาวล้านนานิยมทำบุญ และทำกิจกรรมเทศกาลปีใหม่เมือง ตามวันหยุดราชการในปฏิทินสากล วันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสังขานต์ล่อง ๑๔ เมษายน เป็นวันเน่า ๑๕ เมษายน เป็นวันพญาวัน

ประเพณีปีใหม่ของชาวล้านนา มีคติความเชื่อเกี่ยวกับขุนสังขานต์หรือขุนสังกรานต์ ซึ่งแตกจากความเชื่อของชาวไทยภาคกลาง คือไม่ได้กล่าวถึงท้าวกบิลพรหมและธรรมบาลกุมารแต่อย่างใด แต่กล่าวถึงขุนสังขานต์ในลักษณะ บุคลาธิษฐาน หมายถึงพระอาทิตย์ เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนศักราชในแต่ละปี และมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ จากการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์


 วันสังขานต์ล่อง


           วันสังขานต์ล่อง หรือวันสังขารล่อง หรือวันสังกรานต์ล่อง เป็นวันแรกของกิจกรรมปีใหม่ "สังขานต์" คือคำเดียวกับ "สงกรานต์" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่า "ก้าวล่วงแล้ว" วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนา ตรงกับภาคกลาง คือวันมหาสงกรานต์ ถือเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่าวันสังกรานต์ล่อง คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีน จะเข้าสู่ราศีเมษ

           วันนี้คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่ จุดสะโปก หรือประทัด ยิงปืน เพื่อขับไล่เสนียด จัญไร ไหลล่องไปกับปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ ซึ่งจะแบบรับเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในชีวิตไปเททิ้งที่มหาสมุทร การไล่สังขานต์ด้วยเสียงประทัดหรือสะโปกที่ดังแต่เช้าตรู่ จึงทำให้ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือน ซักที่นอน หมอนมุ้ง แล้วอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดผ่องใส

เด็กๆมักจะถูกหลอกให้ไปซักผ้าที่แม่น้ำแต่เช้าตรู่ เพราะจะได้เห็นสังขานต์ล่องที่แม่น้ำ คนโบราณได้สมมุติตัวสังขานต์เป็นคนแก่สองคน คือปู่สังขานต์และย่าสังขานต์ถ่อแพไหลมาตามแม่น้ำ บ้างก็ว่าปู่สังขานต์และย่าสังขานต์หาบกระบุงตะกร้า เดินมาตามถนน เพื่อมารอรับเอา เสนียดจัญไรทั้งหลาย ไปขว้างทิ้ง บ้างก็ว่าปู่สังขานต์ย่าสังขานต์ ห่มผ่าสีแดงล่องแพมาตามแม่น้ำ นำพาสิ่งไม่ดีเป็นอัปมงคลมาด้วย จึงต้องขับไล่ด้วยเสียงดังของประทัดเร่งเร้า ให้ผ่านไปโดยเร็ว วันนี้คนโบราณจึงจะเก็บกวาด ทำความสะอาดบ้านเรือน ซักผ้า เผาเศษขยะใบไม้ให้สิ่งหมักหมมทั้งหลายหมดสิ้น ไปพร้อมๆกับสังขานต์ที่ล่องไป




พิธีลอยสังขานต์


           ชาวบ้านช่วยกันทำแพต้นกล้วย ให้เป็นสะตวงใหญ่วางบนแพ  ตกแต่งด้วยดอกไม้ ช่อ หลากสี ในสะตวงใส่เครื่องพลีกรรม ได้แก่ ข้าวหนม อาหาร ผลไม้ มะพร้าว กล้วย อ้อย ใส่ควัก (กระทง) และข้าวแป้งสำหรับใช้ปั้นเป็นรูปนักษัตประจำปีเกิด เมื่อทำสะตวงเสร็จแล้ว ทุกคนช่วยกันแบกเป็นขบวนแห่หามแพสังขานต์ด้วยฆ้องกลองไปยังลำน้ำแม่แจ่ม วางแพไว้ริมฝั่งน้ำ ปู่อาจารย์เป็นผู้ประกอบพิธี และกล่าวเสกข้าวแป้งด้วยคาถา "ยะถาวารีวาโห ปุโรสัพพะการัง ยักขียันติ เอวะเมตัง ยักขีโต หูมหังหูมเห เถถะเมหัง ขิปัง"จากนั้นให้ทุกคนปั้นแป้งเป็นก้อน เอาเช็ดตามหน้าตา เนื้อตัว แขนขา โดยเชื่อกันว่าเป็นการเช็ดเอาเสนียดจัญไร เคราะห์ภัยต่างๆ สิ่งชั่วร้ายที่มีอยู่ในเนื้อตัวออกไป เสร็จแล้วปั้นแป้งเป็นสัตว์ประจำปีเกิด นำไปใส่ในสะตวง พ่ออาจารย์ผู้ประกอบพิธี ก็จะกล่าวคำโอกาส ดังนี้ "โภนโต ดูราปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ วันนี้ก็เปนวันดี ตามวาระปีใหม่มาครบรอบปี ตามประเวณีมาแต่ก่อน เพื่อบ่หื้อส่อนหายสูญ ถึงวันที่ ๑๓ เมษายนก็เปนวันสังขานต์ล่อง ผู้ข้าทั้งหลายก็ได้ตกแต่งเครื่องสักการบูชา มีน้ำขมิ้นส้มปล่อยและโภชนะอาหาร มาถวายเพื่อส่งสังขานต์ปีเก่า เปนเคราะห์และนามสิ่งที่บ่ดีบ่งาม ได้กระทำไว้บ่ถูก ก็ขอหื้อตกไปตามแม่น้ำทางหลวง เคราะห์พันพวงก็ขอหื้อไปตามปู่สังขานต์ย่าสังขานต์เสียในวันนี้ ปีใหม่วันใหม่เดือนใหม่ ที่จักมาภายหน้า ขอหื้อผู้ข้าทั้งหลายจุ่งจำเริญ อายุวัณณะ สุขะ พละ และโชคชัยลาภะ ริมาค้าขึ้น กระทำสวนไร่นาก็ขอหื้อได้ข้าว มีลูกมีเต้าหลานเหลนก็ขอหื้อสอนง่ายดั่งใจ ขอหื้อฟ้าฝนตกมาตามฤดูกาล ยุต่างกินทานอย่าได้ขาดจิ่มเทอะ"หลังจากนั้น ทุกคนนำน้ำขมิ้นส้มปล่อยมาสระเกล้าดำหัวลงในแพสังขานต์ และนำไปลอยลงน้ำแม่แจ่ม เพื่อให้เคราะห์ภัยต่างๆ ลอยไปกับสายน้ำพร้อมกับปีเก่า

ดำหัววันสังขานต์ล่อง


           การดำหัววันสังขานต์ล่อง เป็นกิจกรรมที่เป็นจารีตประเพณีที่ทำกันมาแต่อดีต การดำหัว ในความหมายโดยทั่วไปของชาวล้านนา หมายถึงการสระผม แต่การดำหัววันสังขานต์ล่อง หมายถึงการชำระล้างสิ่งอัปมงคลในชีวิตด้วยน้ำขมิ้นส้มปล่อย การดำหัววันสังขานต์ล่อง จะต้องหันหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้ในปักทืน หรือหนังสือปีใหม่เมือง ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน ตัวอย่างเช่น ปักขะทืนล้านนา

           ผู้นำในการดำหัววันสังขานต์ล่องนี้ มีหัวหน้าครอบครัว เช่น พ่ออุ้ยแม่อุ้ย (ปู่ย่าตายาย)หรือพ่อบ้าน จะเป็นผู้เสกฝักส้มปล่อย ด้วยคาถา "โอม สิริมา มหาสิริมา เตชะยะสะลาภา อายุวัณณา ภะวันตุเม" แล้วนำส้มปล่อยไปแช่น้ำ และเสกด้วยคาถามนต์น้ำส้มปล่อย เช่น "สัพเคราะห์ สัพพะภัย สัพพะอุบาทว์ สัพพะพายาธิแลกังวลอนตรายทังหลาย ขอหื้อตกไปพร้อมกับสังขานต์ เคราะห์ทางหลังอย่ามาถ้า เคราะห์ทางหน้าอย่ามาหา พุทธังถอด ธัมมังถอด สังฆังถอด หูรู หูรู สวาหาย" หลังจากนั้นเอาน้ำส้มปล่อยมาลูบศีรษะตนเองก่อน แล้วจึงลูบศีรษะสมาชิกในครอบครัว และมักนำน้ำขมิ้นส้มปล่อยเช็ดล้างกาลกิณีที่ร่างกาย





วันเน่า


           วันเน่า เป็นวันที่สองของปีใหม่เมือง วันนี้ยังไม่ถือว่าเป็นปีใหม่ เป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยังเนาอยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีเมษ ในแง่โหราศาสตร์ถือเป็นวันไม่ดี ไม่ส่งเสริมมงคล และเชื่อว่าหากใครด่าทอ ทะเลาะ วิวาทกัน จะทำให้ปากเน่าเหม็นเป็นอัปมงคลตลอดทั้งปี วันนี้จะไม่ดุด่า ว่าร้ายให้แก่กัน ตามประเพณีแล้ววันนี้เป็น "วันดา" คือวันที่ต้องเตรียมสิ่งของต่างๆเพื่อใช้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น และตลอดทั้งวัน เด็กๆ บ่าว สาว เฒ่า แก่ จะพากันไปขนทรายที่แม่น้ำ เข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย
            
เหตุที่ทางล้านนาเรียกวันนี้ว่าวันเน่า เพราะเชื่อตามวรรณกรรมที่มีการกล่าวขานกันมาว่า นานมาแล้วยังมีพญาตนหนึ่งได้ตายจากไปในวันหลังวันสังขารล่อง แล้วกลายไปเป็นเปรตหัวเน่า คนจึงเรียกวันนี้ว่าวันเน่า วรรณกรรมดังกล่าวได้แก่ธัมม์ หรือธรรมเรื่องอานิสงส์ปีใหม่ กล่าวว่า 
             
           พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า พระยาสุริยะครองเมืองกลิงคราษฏร์ เลี้ยงผีปีศาจไว้มากมาย ตายไปในวันหลังสังขารล่องหนึ่งวัน ไปเกิดเป็นเปรตหัวเน่าอยู่นอกฟ้าจักรวาล ครั้นภายหลังภริยาสองนางตายไปเกิดเป็นเปรตอยู่ด้วยกัน เปรตทั้งสองนางจึงช่วยกันล้างหัวเน่าของพญา จึงเรียกว่าวันนี้ว่า วันเน่า 

           คนล้านนามีความเชื่อเรื่องวันเน่าว่า ถ้าหากผู้ประสงค์จะปลูกเรือนไม้ไผ่ ให้รีบตัดไม้ภายในวันนี้ เพราะเชื่อว่าไม้จะไม่เน่าและไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว
             
วันเน่าหรือวันเนานี้ บางปีจะมีสองวัน บางปีจะมีวันเดียว ส่วนมากจะมีวันเดียว ที่มีสองวันเพราะการนับวันตามแบบจันทรคตินั้น สี่ปีจะมีเดือนเดือนสิบ ๒ หนแบบไทยล้านนาครั้งหนึ่ง หรือสี่ปีจะมีเดือนแปด ๒ หนตามแบบไทยภาคกลางครั้งหนึ่ง หรืออาจเกี่ยวข้องกับการคำนวณวันเวลาตามแบบโหราศาสตร์ที่ตกทอดกันมาแต่ดั้งเดิม

ไปกาดวันเน่า


           วันนี้ตลาดเช้าของแต่ละหมู่บ้านจะคึกคักเป็นพิเศษ ตั้งแต่เช้ามืดจะมีคนเต็มตลาด ทั้งพ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านชาวเมือง ที่มาจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อของกินของใช้ต่างๆ นานาที่จำเป็นต้องใช้ในประเพณีปีใหม่เมือง เช่น ช่อ ตุง ข้าวตอก ดอกไม้ หมากเหมี้ยง เสื้อผ้า ครัวดำหัว ผลไม้ ฯลฯ เพื่อใช้ในการทำบุญและดำหัวผู้มีพระคุณ

สมัยโบราณลูกสาวของแต่ละบ้านจะตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพื่อมาตำข้าวแป้ง หรือโขลกแป้งข้าวเหนียวไว้ทำขนมจ็อกหรือขนมเทียน หนุ่มๆ ก็จะตื่นเช้าเป็นพิเศษเช่นกัน เพื่อถือโอกาสไปอู้สาวตำข้าว หนุ่มใดชอบสาวใด ก็จะไปยังผามมองที่สาวคนนั้น ไปตำข้าวแป้ง ผามมองหรือโรงกระเดื่องนี้ ในอดีตจะมีทุกบ้าน บางท้องถิ่นสามสี่บ้าน จะรวมกันใช้ผามมองร่วมกัน จึงเป็นโอกาสพบปะระหว่างหนุ่มสาวได้พบกัน

ขนทรายเข้าวัด


           การขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย มีคติในการกำหนดรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่นก่อเป็นเจดีย์ทรายเล็กๆ เท่าจำนวนอายุ ก่อเจดีย์ทรายตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว เมื่อก่อเสร็จ ให้นำตุงเทวดา ตุงคน ตุงไส้หมู ตุงสิบสองราศี ช่อ ข้าวตอกดอกไม้ปักประดับเป็นพุทธบูชา บางวัดก็นิยมสานเสวียนเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ๓ ชั้น ๕ ชั้น หรือทำเจดีย์ทรายขนาดใหญ่ ๙ ชั้น เรียกว่า "เจดีย์ทรายสุดซ้าว" เพราะเปรียบเทียบความสุงยาว ขนาดเท่ากับลำไม้ไผ่ที่เป็นแกนเสวียนสุงถึงปลายสุดไม้ไผ่ เจดีย์ขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ทรายจำนวนมาก ดังนั้นการทำเจดีย์ทรายสุดซ้าว จะต้องอาศัยความสามัคคีความร่วมมือจากชาวบ้าน ในชุมชนเป็นอย่างมาก

           ตำนานการขนทรายเข้าวัด มีความเป็นมากล่าวไว้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ทรงทอดพระเนตรเห็นทรายที่ขาวสะอาดที่ชายหาด ด้วยพระราชศรัทธาในพระรัตนตรัย จึงทรงก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์ การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร" ดังนั้นการก่อพระเจดีย์ทราย ถือว่าเป็นอุทเทสิกเจดีย์ (พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องเตือน ให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณ เช่นเดียวกับพระพุทธรูป) ถือว่าได้อานิสงส์มาก ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นคตินิยมทำสืบต่อกันมา

อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า สมัยพระพุทธเจ้าเป็นชายสามัญมีนามว่าติสสะ เป็นคนยากจนเข็ญใจ แสวงหาเลี้ยงชีพด้วยการตัดฟืนขาย แต่เป็นผู้มีศีลธรรมดีเป็นที่รักของประชาชน อยู่มาวันหนึ่งติสสะเดินออกจากบ้านเข้าไปในป่า เห็นมีลำธารไหลผ่านมีหาดทรายขาวสะอาดงดงามนัก ติสสะมีจิตปสาทะอยากทำบุญ จึงได้เอาทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ แล้วฉีกเสื้อที่ตัวเองสวมอยู่นั้นฉีกเป็นตุงหรือธงปักลงบนยอดเจดีย์ แล้วอธิษฐานว่า "อิมินา ปุญญกมเมนา ทัง วาลุกเจติยัง กตรา สุขี อัตตานัง ปริหารันโต นิพพานะปัจจโยมันหิ เม นิจิจจัง" ด้วยอำนาจการก่อพระเจดีย์ทรายนี้ ขอให้ข้าพเจ้าบริหารตนให้มีความสุขและเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานเจ้าเถิด และขอให้บุญเกื้อหนุนให้เกิดมาเป็นพระพุทธเจ้ามาโปรดสัตว์โลก เมื่อพระโพธิสัตว์ติสสะบำเพ็ญบารมีเต็มที่แล้วตายลง ต่อมาได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าในยุคปัจจุบัน

ตุงปีใหม่


           ในวันเน่า คนแก่คนเฒ่า หรือผู้ที่มีฝีมือในการตัดตุง ก็จำนำกระดาษว่าวหลากสีมาตัดเป็นตุงรูปลักษณะต่างๆ เช่น ตุงไส้หมูหรือช่อพญายอ ตุงเทวดา ตุงคน ตุงสิบสองราศี ช่อนำทาน เพื่อเตรียมไว้ปักเจดีย์ทรายในวันพญาวัน ไม้ที่นิยมนำตุงไปมัดติด เช่น ต้นเขือง กิ่งไผ่ ต้นข่า ต้นกุ๊ก เป็นต้น การถวายทานตุงนี้ คนล้านนาเชื่อว่าหากเราตายไปตกอยู่ในนรกภูมิ ตุงที่เราทำถวายทานเป็นพุทธบูชานั้น จะไปกวัดแกว่งให้เราเกาะชายตุงนั้นไว้ ตุงจะนำพาเราให้รอดพ้นจากนรกอเวจี นำขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์

ในตำนานหิรัญนครเงินยางเชียงแสนกล่าวถึงการทานตุงว่า ทำให้มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากการตกนรกไว้ว่า สิงห์กุฏฏอำมาตย์เอาธงคือตุงและหยาดน้ำ ครั้นสิ้นชีวิตต้องเสวยวิบากในนรก พญายมถือว่าได้ผลทานตุงและทานน้ำส่งกุศลให้ขึ้นสวรรค์ ยังมีเรื่องพรานฆ่าเนื้อเบื่อปลา เคยเห็นตุงพระประธานองค์ใหญ่วัดศรีโคมคำอันพายุพัดไปมาดูงามแก่ตายิ่งนัก จึงสร้างตุงผืนใหม่ถวายบูชา ครั้นตายไป ก่อนลงขุมนรกก็มีตุงที่ตนถวายทานแล้วนั้นพันกายให้พ้นจากนรก 

เมื่อตติยศักราชได้ ๙๐๖ ตัว ปีชวด อัฐศก เดือน๗ เพ็ญ มีชาวขานนำตุงรูปภาพผืนหนึ่งมาบูชาพระประธานใหญ่ พอถวายแล้วก็เอาขึ้นแขวนบนเพดาน แล้วก็พลาดตกลงมาตาย ธงผืนนั้นก็รับเอาชายผู้นั้นไปขึ้นสวรรค์ ไปปรากฏที่พระเกศแก้วจุฬามณีด้วยเหตุนี้ในช่วงประเพณีปีใหม่ ชาวล้านนาจึงมีบูชาตุงและก่อเจดีย์ทรายถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องด้วยอานิสงส์ดังกล่าว


พิธีลอยเคราะห์วันเน่า


เมื่อถึงวันเน่า(เนาว์)ของสงกรานต์ ปีใหม่เมืองเหนือทุกๆ ปี ถ้าท่านต้องการให้หมดเคราะห์หมดภัย ให้อยู่สุขสบายนั้น ก็ให้ทำพิธีส่งเคราะห์ลอยเคราะห์วันเน่าตามพิธีโบราณ ให้ทำในวันเน่านั้นแล ให้ทำสะตวงหยวก ๑ อัน กว้างยาว ๑ ศอกเท่ากัน แล้วให้เอาดินมาปั้นรูปต้นไม้และสัตว์ที่เป็นกำเนิดของท่านใส่ และใส่เครื่องครัว ข้าวปลาอาหาร ลูกส้มของหวาน พร้าวตาลกล้วยอ้อย ข้าวตอกดอกไม้ ช่อ ๔ ตัวปักไว้ ๔ มุมสะตวง เทียน ๔ เล่มปัก ๔ ทิศของสะตวง เมื่อถึงวันเน่าตอนเย็นๆ ก็เตรียมเครื่องบูชาไปสู่ท่าน้ำแม่ใหญ่ พร้อมแล้วให้อ่านคำโอกาสลอยเคราะห์ว่า 

           "ดูกราเจ้ากู ข้าเกิดมาเพื่อเจ้ากูแล เท่าว่าเราอยู่จิ่มกัน ภัยก็เกิดมีมาชะแล เจ้ากูจุ่งรับเอายังเคราะห์วัน เคราะห์ยาม เคราะห์ปี เคราะห์เดือน เคราะห์กำเนิดเกิดมา สรรพเคราะห์ทั้งมวล อันมีในตนตัวแห่งข้านี้ไปกับตนเจ้ากู แล้วจุ่งกระทำนำมา ยังวุฒิสวัสดี ลาภะ ยัสสะ สัมปัตติ อันมาก แล้วจุ่งหื้อเป็นที่ไหว้ปูชาระหะ วันทาระหะแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย ขอหื้อผู้ข้ามีศรีทีฆาอายุมั่นยืนยาว มั่งมูลทุ่นเท้า เป็นดังจักวรรดิคหบดี แลสิมพลีเถรเจ้านั้นเสี้ยงปีนี้ทั้งมวล แก่ผู้ข้าแด่เทอะ" 

ว่า ๓ รอบแล้วเอาสะตวงเวียนแวดหัวผู้บูชานั้น๓ รอบแล้วปล่อยลอยแม่น้ำไปเสีย เอาน้ำส้มปล่อยสระหัวลงในสะตวงนั้นด้วย แล้วกลับบ้านอย่าเหลียวคืนหลัง กลับถึงบ้านเลย 

รูปต้นไม้และรูปสัตว์ที่ทำด้วยดินใส่ในสะตวงนั้น ผู้เกิดปีชวด ไม้ศรีมหาโพธิ์ รูปผีเสื้อยักษ์๑ ตัว เกิดปีฉลู ไม้บุนนาค๑ รูปหมา๑ตัว ปีขาล รูปผีเสื้อยักษ์๑ตัว ไม้ไผ่๑กอ ปีเถาะรูปไม้ชมพู๑ต้นไก่๑ตัว ปีมะโรงรูปต้นข้าว๑กอ รูปไก่๑ตัว ปีมะเส็ง รูปไม้หัด๑ต้น ผีเสื้อยักษ์๒ตัว ปีมะเมีย รูปไม้แก รูปหมา๑ตัว ปีมะแม ปีวอก ต้นไม้ทองกวาว๑ต้น หมา๑ตัว ปลา๑ตัว ปีระกา รูปไม้มะกอกรูปเสือโคร่ง๑ตัว ปีจอ รูปไม้มะตาเสือรูปเสือ๑ตัว ปีกุน รูปดอกบัว๑กอ รูปผียักษ์๑ ตัวรูปเหล่านี้ ถ้าคนที่บูชานั้นเกิดปีใดก็ ให้ทำรูปนั้นๆ วางไว้กลางสะตวง เอารูปสัตว์วางไว้พื้นของต้นไม้ คล้ายกับมาพักพึ่งอาศัยอยู่ร่มไม้นั้นแล จบลอยเคราะห์วันเน่าแล 

ความเชื่อเกี่ยวกับวันเน่า


           วันเน่าไม่ควรด่าทอ สาปแช่งหรือกล่าวคำร้ายต่อกัน ปากจะเน่าจะเหม็น เป็นอัปมงคลไปทั้งปีวันเน่าควรตัดไม้ไผ่ที่จะสร้างบ้าน มอดปลวกจะไม่มากินเชื่อว่าถ้าดุด่าลูกหลานเรื่องใด เด็กจะนิสัยแบบนั้นไปตลอดทั้งปี


พญาวัน


           พญาวัน วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ เรียกว่า "ทานขันข้าว" บางแห่งว่า "ทานกวั๊ะข้าว" หลังจากนั้นนำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย และคนเฒ่าคนแก่ก็อยู่ร่วมพิธีเวนทานเจดีย์ทราย ถวายช่อตุงปีใหม่ และฟังเทศนาธรรมอานิสงส์ปีใหม่ ช่วงบ่ายเป็นช่วงไปดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เจดีย์ วันนี้คนล้านนาจะทัดดอกไม้นามปี เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต เช่น พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ทัดดอกเก็ดถว๋า (ดอกซ้อน) โดยให้เสียบที่มวยผม นอกจากนี้ ยังนิยมเริ่มต้นเรียนศาสตร์ศิลป์ต่างๆ เป็นต้นว่า มนต์คาถา สักยันต์ หรือทำพิธีสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู และในหลายพื้นที่ยังมีกิจกรรมแห่ไม้ค้ำศรี หรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนา และค้ำชูอุดหนุนให้แก่ชีวิตเจริญรุ่งเรือง

ทานขันข้าว


           การทานขันข้าว เป็นการถวายอาหารให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ อาจเป็นของที่ผู้ตายชอบทาน หรืออาหารขนมทั่วไป ใส่ในถาดหรือตะกร้าและมีซองปัจจัยเขียนคำอุทิศไว้หน้าซอง การทำบุญอุทิศไปหาผู้ล่วงลับไปแล้วนี้ หากจะทานไปหาผีตายเก่าเน่านานที่ตายธรรมดา ก็จะเข้าไปถวายในวัด แต่หากผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นผีตายโหง เป็นผีตายร้าย ไม่ได้ตายดี ก็จะทานขันข้าวนอกวัด คือนิมนต์พระภิกษุหรือสามเณรออกมารับทานที่นอกกำแพงวัด เพราะถือว่าผีตายร้ายผีตายโหงและตายไม่ดีอื่นๆ เข้าไปในเขตวัดไม่ได้

ทานตุงปีใหม่


            หลังจากทานขันข้าว บ้างก็กลับบ้านนำเอาธงหรือตุงไปปักพระเจดีย์ทราย บ้างก็ให้ลูกหลานเป็นผู้นำมาปักที่กองเจดีย์ทรายตรงลานวัด บางแห่งก็นิยมนำน้ำใส่ขันสะหลุงมาบูชารดลงที่กองเจดีย์ทรายนั้นด้วย การถวายทานด้วยตุงปีใหม่นี้ มีคติว่าการทานตุงนั้นมีอานิสงส์ สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรกนั้นสามารถพ้นจากขุมนรกได้ โดยหางตุงหรือชายตุงจะกวัดแกว่งไปถึงยมโลก ให้ผู้ที่ตกนรกนั้นเกาะชายตุงขึ้นสู่สวรรค์ ในการทำบุญอุทิศเจดีย์ทรายหรือทุงนั้น"ปู่อาจารย์"หรือมัคนายกจะกล่าวนำศรัทธาประชาชนไหว้พระรับศีล และอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์แบบย่อพอควรแก่เวลา จากนั้นปู่อาจารย์จะโอกาสเวนทานถวายเจดีย์ที่ศรัทธาประชาชนรวมกันสร้างขึ้น



แห่ไม้ค้ำศรี ไม้ค้ำโพธิ์


           ในวันพญาวันนี้ บางท้องที่นิยมทานไม้ค้ำศรี (ไม้ค้ำโพธิ์) ไม้ค้ำศรี(ออกเสียงว่าสะหลี)จะเป็นไม้ง่าม อาจทำมาจากไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ฉำฉา หรือไม้เนื้อแข็งแกะสลักสวยงาม จะมีกรวยดอกไม้ธูปเทียน และกระบอกไม้อ้อ หรือไม้ไผ่บรรจุน้ำ และทรายผูกติดกับไม้ง่ามไปด้วย ตรงบริเวณง่ามของไม้ก็จะมีหมอนรองไว้
เชื่อว่าจะหนุนค้ำจุนพระศาสนา ให้อยู่ยืนยาวตลอดไปตลอดห้าพันพระวัสส   การทานไม้ค้ำศรีนี้ถือคติว่า 

1. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการค้ำชูพระศาสนาให้ยาวนานต่อไป 
2. เพื่อเป็นการสืบชะตา ค้ำอายุตัวเอง และเสริมศิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่

ในบางวัดมีต้นโพธิ์ใหญ่กิ่งก้านสาขามากมาย ได้โอกาสนี้ใช้ไม้ค้ำโพธิ์ยึดค้ำกิ่งก้านสาขาไว้ไม่ให้โน้มลงมาจนกิ่งหักได้



ดำหัวคนเฒ่าคนแก่


           ตอนบ่ายของวันพญาวันนี้ บางที่บางแห่งก็จะมีการไปดำหัวหรือคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้อง ผู้มีอาวุโส ผู้มีบุญคุณ หรือผู้ที่มีความเคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษหรือภาษาล้านนาเรียกว่า "ไปสุมา คราวะ" เนื่องจากในปีที่ผ่านมาอาจทำให้ท่านโกรธเคือง หรือได้ล่วงล้ำด้วยกาย วาจา ใจ ก็ไปขอขมา และขอพรปีใหม่ เครื่องอุปโภคบริโภคที่นำไปดำหัว ได้แก่ข้าวตอกดอกไม้ ธูปเมือง ผ้านุ่ง เช่น เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว มีขนมอาหารที่ทำในช่วงปีใหม่ เช่น ข้าวแตน ข้าวหนมจ็อก แหนม ห่อนึ่ง เป็นต้น ผลไม้ที่ออกมากในช่วงปีใหม่ก็จะมีมะปรางซึ่งจะใส่ในชะลอมสานไว้อย่างงดงาม นอกจากนั้นก็จะมีหมากพลู และปัจจัยใส่ในซองจดหมายแล้วแต่ความสมควร



ดำหัวพระเจ้า/พระธาตุเจดีย์


           ดำหัวพระเจ้า คือการไปแสดงความคารวะต่อพระพุทธรูปที่สำคัญประจำเมือง เช่น พระเสตังคมณีหรือพระแก้วขาววัดเชียงมั่น พระพุทธสิหิงค์และพระเจ้าทองทิพย์ที่วัดพระสิงค์ พระเจ้าเก้าตื้อที่วัดสวนดอก เป็นต้น หรือพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุศรีจอมทอง 

การไปดำหัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอดีตนิยมไปกันเป็นหมู่คณะ อาจจะเริ่มต้นในวันสังขานต์ล่องเรื่อยไปจนถึงวันปากปี ปากเดือน ปากวัน ปากยาม เพราะสถานที่แต่ละแห่งอาจจะอยู่ไกลกัน ต้องใช้เวลาเดินทาง การดำหัวก็จะใช้ข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนบูชา และสรงด้วยน้ำขมิ้นส้มปล่อย

ดำหัวกู่(อัฐิ)


           การดำหัวกู่ คือไปดำหัวที่บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษที่อยู่ในวัดหรือป่าช้า หรือกู่อัฐิของบรรพกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครที่ได้ทำคุณงามความดีไว้กับบ้านเมือง เช่นกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก ผู้ที่เป็นลูกหลานก็จะนำดอกไม้ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มปล่อยไปสรงเพื่อเป็นการสักการะบูชาดำหัวในช่วงปีใหม่



วันปากปี


วันปากปี๋ วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่ จัดว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นวันแรกของปี วันนี้คนล้านนาจะกินแกงขนุนกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ช่วงสายๆชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ใจบ้าน เพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจจะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขมาคารวะ ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว

กินแกงขนุน


           ในวันปากปีมีความเชื่อของคนล้านนาอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่ทุกหลังคาเรือนจะมีการทำอาหารที่เหมือนกันเกือบทุกบ้าน คือการทำแกงขนุน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า "แก๋งบ่าหนุน" โดยเชื่อกันว่า เมื่อได้ทานแกงดังกล่าวจะช่วยส่งหนุนให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ประกอบกิจการงานใดก็สำเร็จผล มีคนมาอุดหนุนค้ำจุนอีกทั้ง เกิดสิริมงคลในครอบครัว ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปีของคนล้านนา

ชาข้าวลดเคราะห์


           ในช่วงเช้าของวันปากปี พิธีกรรมจะเริ่มต้นที่วัดของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งเรียกว่า การบูชาข้าวลดเคราะห์ เป็นการนำเอาข้าวมาปั้นเป็นก้อน จำนวน ๙ ก้อนหรือตามอายุของแต่ละบุคคล ต่อจากนั้นนำไปถวายแด่พระประธานและพระสงฆ์ในพระวิหาร ซึ่งบางแห่งเรียกพิธีกรรมนี้ว่า การบูชาเคราะห์ปีใหม่ หรือ บูชาสระเคราะห์ ในบางชุมชนหรือบางหมู่บ้านจะกระทำกันที่บ้านเรือนของตน โดยมีปู่อาจารย์จะมาทำพิธีให้ที่บ้าน ซึ่งเป็นอันเสร็จพิธีช่วงเช้าของวันปากปี

ส่งเคราะห์บ้าน



           พิธีส่งเคราะห์บ้าน เป็นพิธีทำบุญเสาใจบ้าน ใจบ้าน คือบริเวณที่ตั้งของเสาใจบ้าน หรือสะดือบ้าน ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน จะมีหลักไม้จำนวน ๕ ต้น บางแห่งมีหอพ่อบ้าน หรือต้นไม้ใหญ่เป็นสัญลักษณ์ เสาใจบ้านเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของหมู่บ้าน ที่สิงสถิตของเหล่าเทพยาดาอารักษ์พิธีการจะประกอบด้วย การจัดทำรั้วราชวัตร ประดับด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยและอื่นๆ อย่างสวยงาม แล้วเตรียมอาสน์สงฆ์ไว้ด้วย จากนั้นให้โยง ฝ้ายล้วงหรือด้ายสายสิญจน์จากเสาใจบ้านต่อ ๆ กันทุกหลังคาเรือน และจะทำแตะไม้ไผ่สานขนาด ๙๐ X ๙๐ เซนติเมตรจำนวน ๙ แผง แล้วใช้ดินเหนียว หรือแป้งข้าว ปั้นเป็นรูปสัตว์ เช่น ช้าง ม้า หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น อย่างละ ๑๐๐ ตัว วางบนแตะนั้น พร้อมทั้งใส่เครื่องบูชาต่าง ๆ อันประกอบด้วย ข้าว อาหารคาวหวาน ผลไม้ต่าง ๆ กล้วย อ้อย หมาก พลู เมี่ยง บุหรี่ และให้ใช้ไม้ทำ หอกดาบแหลนหลาวหน้าไม้ปืนธนู วางบนแตะทั้ง ๙ นั้นเพื่อเตรียมทำพิธีส่งเคราะห์บ้าน หรือพิธีส่งนพเคราะห์ทั้ง ๙ ซึ่งบางทัศนะคติของชาวล้านนาได้ให้ความหมายว่า เป็นการส่งให้แก่ท้าวเวสสุวัณณ์ ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ในหมู่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย และเป็นท้าวโลกบาลผู้หนึ่งซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาโลกให้เป็นปรกติสุข

หลังจากนั้นในช่วงเวลาประมาณ ๑๐:๐๐ น. ชาวบ้านก็จะเริ่มทยอยเข้ามาสู่บริเวณปะรำพิธี ซึ่งตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน หรือใจบ้านในภาษาล้านนา เพื่อร่วมประกอบพิธีดังกล่าว โดยพิธีจะเริ่มที่แต่ละครอบครัว จะนำเอาเสื้อผ้าของสมาชิกทุกคนในครอบครัว และทรายกลางแม่น้ำมารวมไว้ตรงกลางปะรำพิธี พร้อมกับนำข้าวปลาอาหาร ขนมนมเนยที่เตรียมมาจากบ้าน มาใส่ไว้ในแตะทั้ง๙ แตะที่เตรียมไว้อีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีส่งเคราะห์ และสืบชะตาบ้าน คือ แต่ละบ้านหรือแต่ละครอบครัวจะโยงด้ายสายสิญจน์ไปรอบ ๆ บ้าน แล้วเอาไปผูกเชื่อมต่อกับบ้านใกล้เรือนเคียง โดยพิธีกรรมการส่งเคราะห์บ้านจะเริ่มจากปู่อาจารย์ จะทำการกล่าวโอกาสส่งเคราะห์ในแต่ละทิศ โดยการนำแตะไม้ไผ่ที่ประกอบไปด้วยเครื่องพลีกรรมต่างๆ ไปวางไว้ในแต่ละทิศจนครบทั้ง๘ ทิศและอีกหนึ่งแตะจะนำมาวางไว้ที่กลางปะรำพิธี จากนั้นปู่อาจารย์ก็จะเริ่มพิธีการส่งเคราะห์

สืบชะตาหมู่บ้าน


           หลังจากเสร็จสิ้นพิธีส่งเคราะห์บ้าน ต่อมาก็จะเป็นการสืบชะตาหมู่บ้าน โดยพิธีจะเริ่มที่ผู้นำหมู่บ้านจะทำการอาราธนานิมนต์พระภิกษุสงฆ์สามเณรจำนวน ๕ รูป ๗ รูปหรือ ๙ รูป(ตามแต่หมู่บ้านดังกล่าวนั้นจะมีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษามากน้อยเพียงใด) เพื่อมาเจริญพุทธมนต์ซึ่งก่อนหน้าพิธีกรรมดังกล่าวปู่อาจารย์จะกระทำการขึ้นท้าวทั้งสี่ เพื่อเป็นสัญญาณให้ท้าวจตุโลกบาล รับรู้ถึงพิธีกรรมดังกล่าว อีกทั้งช่วยคุ้มครองการทำพิธีกรรมดังกล่าว ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งพิธีกรรมการขึ้นท้าวทั้งสี่ จะเป็นพิธีที่ต้องกระทำไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืออวมงคลของคนล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากนั้นเมื่อพระสงฆ์มาถึงปะรำพิธีที่ประกอบพิธีกรรม ปู่อาจารย์ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งบนอาสนะที่เตรียมไว้ โดยปู่อาจารย์จะเริ่มนำกล่าวไหว้พระสวดมนต์ พร้อมทั้งขอศีล จากนั้นปู่อาจารย์จะกล่าวอาราธนาพระปริตรเพื่อที่พระสงฆ์จะได้เริ่มสวดพุทธมนต์ โดยปู่อาจารย์จะนำด้ายสายสิญจน์ ที่โยงมาจากแต่ละบ้านและโยงมาจากกองเสื้อผ้า และกะละมังที่บรรจุน้ำขมิ้นส้มปล่อยให้แก่พระสงฆ์ผู้ทำพิธี มีการประเคนบาตรน้ำพุทธมนต์แก่พระสงฆ์รูปแรกผู้เป็นประธานสงฆ์ จากนั้นพระสงฆ์จะเจริญพุทธมนต์ เสร็จแล้วชาวบ้านจะถวายจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ พร้อมทั้งพระสงฆ์กล่าวอนุโมทนาพิธีเป็นอันเสร็จพิธีหลังจากพิธีส่งเคราะห์บ้านและสืบชะตาบ้านเสร็จสิ้น บรรดาชาวบ้านผู้มาร่วมพิธีจะแบ่งน้ำขมิ้นส้มปล่อย ที่พระสงฆ์ทำการเจริญพุทธมนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และนำเอาเสื้อผ้าของตนพร้อมกับทรายกลางน้ำกลับบ้าน โดยนำทรายดังกล่าวไปหว่านบริเวณรอบๆ บ้านด้วยความเชื่อที่ว่า สามารถป้องกันภูตผีปีศาจและเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือนของตน ในส่วนของน้ำขมิ้นส้มปล่อย จะนำมาสรงน้ำพระบนหิ้งพระของตน ตลอดจนนำไปประพรมให้แก่ลูกหลาน ที่ไม่ได้ไปร่วมพิธีส่งเคราะห์ และสืบชะตาบ้านดังกล่าว ถือเป็นอันเสร็จพิธีส่งเคราะห์ และสืบชะตาบ้านในวันปากปีของล้านนา

บูชาเทียนปีใหม่


           ในช่วงค่ำ จะเป็นพิธีกรรมในส่วนของครอบครัวที่จะกระทำกันในบ้านเรือนของตน พิธีกรรมดังกล่าวคือ การจุดเทียนบูชาบ้านเรือนหรือคนล้านนาเรียกว่า ต๋ามเตียนปู่จาพระเจ้าโดยเทียนดังกล่าวจะมีอยู่สามเล่ม คือ เทียนบูชาลดเคราะห์ เทียนบูชาสืบชะตา และเทียนบูชาโชคลาภ บางท้องถิ่นจะมีการ "ต๋ามขี้สายเท่าอายุ" (การจุดเส้นไฟเท่าจำนวนอายุ) ขี้สายหรือเส้นไฟนี้จะทำมาจากเส้นด้ายพื้นเมือง นำไปชุบขี้ผึ้งหรือไขมัน หรือน้ำมันมะพร้าว ปัจจุบันนิยมชุบน้ำมันพืชที่ใช้ในครัวเพราะง่ายดี พอค่ำลง ก็จะเอาขี้สายเท่าอายุไปจุดบูชาที่ลานพระธาตุเจดีย์ในวัด หรืออาจจุดที่ลานทรายหน้าพระวิหาร ตรงที่สายตาพระเจ้าตก หรืออาจจุดที่ลานบ้านของตัวเองก็ได้ การต๋ามขี้สายเท่าอายุนี้ บางท่านก็ว่า เป็นการเผาอายุสังขารเก่าให้พ้นไป บางท่านก็ว่าเป็นการเผาเสนียดจัญไร อุบาทว์ อาถรรพณ์ ขึดขวงต่างๆ ที่ติดตัวเรามาให้หมดสิ้นไป บางท้องถิ่นก็ให้เพิ่มขี้สายไปอีกเส้นหนึ่ง ถือว่าเป็นการสืบชะตาตัวเรา ให้รุ่งเรืองรุ่งโรจน์ประดุจเปลวไฟในปีใหม่ที่มาถึงนี้




วันปากเดือน วันปากวัน และวันปากยาม


           หลังจากจบสิ้นวันปากปี คนล้านนายังมีวันปากเดือน วันปากวัน และวันปากยาม เพื่อให้เวลาเดินทางไปสรงน้ำพระธาตุเจดีย์ หรือเดินทางไปดำหัวญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ห่างไกล และใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในช่วงปีใหม่ เป็นช่วงที่หยุดจากภาระหน้าที่การงาน 

ช่วงนี้พระสงฆ์ สามเณร จะพากันไปดำหัวพระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ พร้อมคณะศรัทธา อาจจะเดินไปกันเป็นหมู่คณะ หรือนั่งรถไปในที่ไกลๆ โดยมีของดำหัวและน้ำส้มปล่อยใส่สะหลุงไปสุมาคารวะในหัววัดต่างๆ คนล้านนาเรียกว่า "หัววัดเติงกัน" คือวัดที่มีความสัมพันธ์และเคารพนับถือกัน




เพลง ปี๋ใหม่เมือง
คำร้อง/ทำนอง/ศิลปิน : คำหล้า ธัญยพร

ช.เดือนเมษาต๋าวันส่องแสงจ้า หมู่เฮามาเล่นน้ำสงกรานต์
ญ.ป๋าเวณีเฮานี้มีมาเนิ่นนาน ฮ่วมสนุกสุขสราญแอ่วสงกรานต์เมืองเหนือล้า­นนา
...ฮืม...เจิญเน้อ เจิญมา ม่วนงันเฮฮา ฮั๊บป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง

ช.ปี๋ใหม่เมืองเฮาคนเมืองฮ่วมใจ ก่อเจดีย์ทรายแต่งกายปื้นเมือง
ญ.แห่สลุงตุงไจยฮั๊บปี๋ใหม่เมือง สรงน้ำพระหื้อเฮารุ่งเรือง
ฮั๊บปี๋ใหม่เมืองฮอดเติงมา...ฮืม... จุมหมู่ลานนา
ปี๋ใหม่แก้วพญา จ้อยซอแว่วมาม๋วนใจ๋

ช.จ้อตุงไจย ปิ๋วไสวโบกมา ปี๋เก่าลา ฮั๊บฟ้าปี๋ใหม่
ญ. ฮ่วมทำบุญเกื้อหนุนหื้อโจคหื้อจัยดำหัวป้อ­แม่สุขใจ๋ 
ฮั๊บปอนปี๋ใหม่ปั้นมา...ฮืม...ปอนเทพเตวา
 เปิ้นปั๋นปอนมา ปกปั๊กฮั๊กษา หมู่เฮา

ช.ลูกจาวเหนือเฮาฮั๊กเครือหมู่เฮา ฮีตบ่าเก่าหมู่เฮาเฝ้ากอย
ญ.ดอกลมแล้ง ดอกแก้ว ดอกคำฝอย เอื้องคำเบ่งบานบนดอย
ขมิ้นส้มป่อยจุ๋มใจ๋..ฮืม...ปี๋ใหม่เมือง ฮีตเก่าคนเมือง
นี่แหละเมืองเหนือ...บ้าน...เฮา



เนื้อเพลง ปี๋ใหม่เมือง

ปี๋ใหม่เมืองเฮากะมาถึงแล้วน่อ
ดำหัวแม่ป้อป้าลุงอุ้ยเฮาดีกว่า
ประเพณีบะเก่าของเฮาสืบมา
เข้าวัดเข้าวาตักบาตรทำบุญ
ก๋ำสะหลุงใส่ข้าวตอกดอกไม้
ฮื้อเปิ้นได้จื่นใจ๋ตี้หมู่เฮาฮู้คุณ
เตวะบุตรเตวะดาเปิ้นมาอุดหนุน
อันก๋านทำบุญตึงบ่อมีวันปุ๊ดตึน

*เปิ้นปั๋นปอน เฮาก่อยกมือไหว้
เย็นอ๊กเย็นใจ๋อายุมั่นขวัญยืน
อยู่ดีกิ๋นดี ตึงยามนอนยามตื่น
ใจ๋บานใจ๋จื่นปันใหญ่ปันสูง
ปี๋ใหม่เมืองเฮาก่อมาถึงแฮ๋มแล้ว
งามตึงดอกแก้ว งามตึงดอกหางนกยูง
ชุดผ้าเมืองเฮาก่อปากั๋นนุ่ง
ก๋ำขันสะหลุงน้ำส้มป่อยไปดำหัว

(ซ้ำ*)
ก๋ำขันสะหลุงน้ำส้มป่อยไปดำหัว







แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://library.cmu.ac.th/ntic/knowledge_show.php?docid=10

ประเพณี “การตานตุง”



“ตุง" ในภาษาถิ่นล้านนา ซึ่งภาษาไทยกลาง เรียกว่า "ธง" ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา ทั้งในงานมงคลและอวมงคลต่างๆ โดยมีขนาดรูปทรงและการใช้วัสดุตกแต่งที่แตกต่างกันไป ตามความเชื่อและพิธีกรรม ตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งจุดประสงค์ของการทำตุงและการตานตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ “การตานตุง” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งล้านนา

คำว่า”ตุง” ชาวล้านนารู้จักกันมานานทั่วไป เพราะส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตของชาวล้านนา เริ่มแต่เกิด สู่วัยกลางคน และวัยชราต้องสัมผัสกับตุงทุกวาระ เด็กแรกเกิดมักมีตุงปักสะตวง (กระทง) ผูกขวัญ ส่งเคราะห์กรรม หรือยามไข้ป่วย เติบใหญ่ไปวัด มีการเฉลิมฉลองตุงไชยปักตั้งแต่ประตูบ้านถึงประคูวัด เทศกาลสงกรานต์ มีตุงหลากหลายปักเจดีย์ทราย เกือบทุกวันนี้ มีคนถือตุงนำหน้าประสาทศพคนตายสู่ป่าช้า มีตุงแดงปักตามข้างถนน มีสะตวงและ ณ จุดใด บอกให้รู้ว่ามีพิธีกรรม “อย่างใดอย่างหนึ่ง” ตุง คือ ประเพณีของชาวล้านนาอันมีมาตั้งแต่โบราณกาล

ภูมิหลังประวัติความเป็นมาของตุง พระพุทธศาสนามีอิทธิพล ความเชื่อของคนเมืองเป็นอย่างมาก คนเมือง คนยอง คนลื้อ คนเขินและมอญ ต่างนับถือศาสนาพุทธเดียวกัน มีวิถีชีวิตเดียวกันคือ “วิถีชาวพุทธ” เชื่อว่า การทำตุงถวายเป็นพุทธบูชา เป็นสิ่งปรารถนาสูงสุด ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ซึ่งจะนำพาตนเองขึ้นสวรรค์ เพราะตุง เป็นปฐมเจดีย์แห่งแรก ในล้านนาหรือคนเมืองเหนือ พระเจ้าอุชุตราชแห่งนครโยนกนาคพันธ์ ทรงสร้าง เมื่อ พ.ศ. 1454 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมีการนำ “ ตุงไชยยาวพันวา ” ขึ้นไปปักบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ สถานแห่งนี้ คนทั้งหลายพากันเรียก “พระธาตุดอยตุง” จนถึงทุกวันนี้ การนำตุงขึ้นไปบูชาพระธาตุ นับเป็นการ “จุดประกาย” การเชื่อถือและศรัทธาความเชื่อความคิดเกี่ยวกับ “ตุง” ของพุทธศาสนิกชนทั่วภาคเหนือ

ชาวล้านนาแต่โบราณมีคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงค์การทานตุงอยู่มาก ซึ่งเล่าสืบต่อกันมา หลายชั่วอายุคนดังตัวอย่างเล่าว่า ”มีกาเผือกคู่หนึ่งออกไข่มา ๕ ฟอง อยู่บนต้นไม้ เมื่อเกิดลมพายุ ไข่ทั้งหมดได้พลัดตกลงมา ครั้นพ่อแม่กาเผือกกลับมาไม่เห็นไข่ของพวกตน ก็เกิดความโศกเศร้า จนตรอมใจตายแล้วได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ ไข่ทั้งห้าใบต่างถูกไก่ เต่า พญานาค โค และคนซักผ้านำไปเลี้ยง จนเติมโตเป็นชายหนุ่มทั้งห้าคน ต่างคนต่างก็มีจิตใจอยากบวช จึงบวชจนสำเร็จญาณและมาพบกันโดยบังเอิญ ทั้งห้าองค์มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ให้กำเนิด จึงได้สร้างตุงถวายอุทิศให้ กะกุสันทะซึ่งไก่เป็นผู้เลี้ยงสร้างรูปไก่ โกนาคมนะรูปนาค กัสปะรูปเต่า โคตมะรูปวัว และอริยะเมตรัยรูปค้อนทุบผ้า เมื่อสร้างตุงเสร็จแล้ว ก็ทำถวายอุทิศ แต่ไปไม่ถึงผู้ให้กำเนิด กาเผือกจึงต้องมาบอกให้ทำเป็นประทีปรูปตีนกาจุดไปจึงจะอุทิศไปถึง”ตุงสมัยก่อนของชาวเหนือ จึงสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้าทั้งห้าองค์ การทำตุงถวายจึงเปรียบเสมือนตัวแทนสักการะของการแผ่กุศล กตัญญูกตเวทีไปถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เราอาจเห็นตุงที่มีรูปไก่ยืนอยู่บนหัวตุงหมายถึงไก่ ส่วนลำตัวและใบของตุงแทนรูปนาค ลวดลายต่าง ๆ เป็นตารางเกล็ด หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หมายถึงเต่า และส่วนประดิษฐ์เป็นรูปกลม หมายถึงตาวัวหรือวัว

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันว่าวิญญาณผู้ตายนี้สามารถยึดหรือปีนป่ายตุงขึ้นสวรรค์ได้ ดังเรื่องเล่าว่า “กาลครั้งหนึ่งมีนายพรานซึ่งเข้าไปล่าสัตว์ในป่านานนับสิบ ๆ ปี ผ่านไปที่วัดเห็นตุงที่แขวนอยู่โบกสบัดสวยงามมาก เมื่อกลับมาถึงบ้านจึงได้ทำตุงขึ้นเพื่อที่จะไปถวายวัดบูชาพระประธาน ครั้นเมื่อเขาตายไป ถูกตัดสินส่งลงนรก เนื่องจากไม่เคยทำความดีเลย มีแต่ฆ่าสัตว์ ยกเว้นแต่ทำตุงถวายวัดเท่านั้น เมื่อถูกตัดสินให้ตกนรก ตุงผืนที่เขาทำนั้นได้มาพันดึงเขาให้พ้นจากนรก นำขึ้นสู่สวรรค์ได้”

“ชาวเหนือจึงมีความเชื่อว่า การถวายหรือทานตุงนั้นมีอานิสงค์หรือได้บุญอย่างมาก”

"ตุง" ของล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำตุงนั้นมีหลายอย่างเช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น

ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา โดยมีขนาด รูปร่าง และ รายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งแตกต่างกันไป ตามความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย

วัตถุประสงค์ของการทำตุง


1. เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง ธงที่เป็นเครื่องหมายพวกหรือเผ่าต่างๆกำหนดสีสันให้รู้จักจำง่ายเหมือนกับ ชาติทั้งหลายในโลกที่ใช้ธงเป็นเครื่องแทนปรัชญาหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. เพื่อใช้เป็นเครื่องพิธี หมายถึง การนำตุงหรือช่อธงในพิธีเครื่องบูชาเซ่นสรวง อย่างเช่นการบูชาท้าวจตุโลกบาลเป็นต้น หากไม่มีช่อธุงหรือธง ถือว่าพิธีไม่ครบถ้วน อันเป็นข้อบกพร่อง ทำให้พิธีเสียหรือไม่สมบูรณ์
3. เพื่อเป็นศักดิ์ศรีแก่เทพเจ้า หมายถึง เทพที่สำคัญทั้งหลาย เช่น พระอินทร์ พระนารายณ์ มีช่อธงเป็นเครื่องหมาย เช่นพระอินทร์มีธงสีเขียว เป็นต้น แม้สมมติเทพ เช่น พระมหากษัตริย์ ก็มีธงเป็นเครื่องหมายแห่งยศ และศักดิ์ศรี
4. เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หมายถึง การมีธุงหรือมีช่อประจำอยู่ เช่นเหล่ากองทหารต่างมีธงชัยเฉลิมพลอันเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศของกองทหารนั้นทำให้ทหาร ภูมิใจในความเป็นทหารของตน

 ตุง กับงานประเพณีต่างๆ


เช่น งานปีใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประชาชนจะทำเครื่องสักการะ
คือ ธูป น้ำส้มป่อย ตุง และ ช่อตุงหรือธุง อันเป็นเครื่องสักการะ

มี 4 ประเภท คือ

1. ตุงเดี่ยว หรือตุงค่าคิง สำหรับบูชาแทนตนเอง
2. ตุงไส้หมู บูชาพระเจดีย์ พระธาตุทั้งหลาย
3. ตุงไจยหรือธงไชย ถวายบูชาพระพุทธรูป เพื่อสร้างความสวัสดีมีชัย
4. ช่อหรือธงชัย สำหรับปักเครื่องบูชาต่าง ๆ

เรื่องของตุงปรากฏอยู่ในคัมภีร์โบราณหลายเรื่อง เช่น คัมภีร์โลกสมมุติราช โลกหานี ธรรมดาจารีต มูละขึด เป็นต้น อย่างที่ปรากฏในคัมภีร์มูละขึด จะมีเนื้อหา กล่าวถึงแนวปฏิบัติหรือข้อห้ามเกี่ยวกับตุงไว้ หากไม่ยึดถือปฏิบัติ ก็จะประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นมงคลสำหรับชีวิตที่เรียกว่า "ขึด"

- อายุยังหนุ่มหน้อยบ่พอซาวปี อย่าได้สร้างขัว หีดธรรม วิหาร อุโบสถ มหาเจดีย์ และทานตุง อันนี้แพ้อายุ อายุบ่ยืน อายุบ่เสี้ยงเขตก็ตาย ขึดนักแล
- ทานตุงบ่ทานค้าง ก็ขึด ทานตุงทานค้าง บ่ทานเสาก็ขึด
- คัพภะมีในเรือน ทานตุงก็ฉิบหาย
- ปักตุง กางตุง อันบ่มีเหตุทางบุญใหญ่ ปอยมหาป๋าง ก็ขึด
- ปักตุง กางตุง บ่จดหลัก ก็ขึด
- ขุดขุมฝังเสาตุง ก็ขึด
- ปกกระโดง คือแขวนตุงบนกิ่งไม้ ปลายไม้ ก็ขึด
- อภิเษกตุงแล้วบ่ควรจักย้าย แพ้เจ้าตุง
- ตุงบ่ขาดค้าง หลกเสีย ม้างเสีย ก็ขึด
- ตรีโอด คือ ปกช่อ ปกตุง แขวนโคมไฟในบ้าน หอเรือน ขึดนัก มักฉิบหาย แล

ทั้งหมดแปลความได้ว่า

- อายุยังน้อยไม่ถึง ๒๐ ปี อย่าสร้างสะพาน ตู้คัมภีร์ วิหาร อุโบสถ มหาเจดีย์ และตุง สิ่งเหล่านี้มีผลร้ายต่ออายุ ทำให้อายุสั้น
- การถวายตุงหากมีไม่ครบทั้งตัวตุง  ที่แขวนตุง และเสาตุง อัปมงคล,ในเรือนมีหญิงมีครรภ์ ถวายตุงเป็นทานก็ฉิบหาย
- ติดตั้งตุง โดยไม่มีเหตุทางบุญ เป็นอัปมงคล
- ติดตั้งตุงไม่ตอกหลักก่อน เป็นอัปมงคล
- ขุดหลุมฝังเสาตุง เป็นอัปมงคล
- แขวนตุงบนกิ่งไม้ ปลายไม้ อัปมงคล
- ติดตั้งตุงตามพิธีแล้ว อย่าโยกย้าย จะเกิดผลร้ายแก่เจ้าของตุง
- ขณะที่ตุงยังไม่ขาดหรือหลุดจากที่แขวน หากรื้อถอนทำลายโดยพลการ เป็นอัปมงคล
- ติดตั้งช่อ (ธงสามเหลี่ยม) ตุงหรือแขวนโคมไฟในบริเวณบ้านอัปมงคลยิ่งนัก ถึงขั้นฉิบหาย

 ตุง เป็นสิ่งที่มีความหมายเชิงพิธีกรรมและความเชื่อ การถวายตุงเป็นทานเป็นการให้ทานที่มุ่งอุทิศส่วนกุศลตามคติพุทธศาสนาขณะเดียวกันก็มีความเชื่อที่แฝงเร้นอยู่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อนพอสมควรจริงอยู่อาจมีผู้ขัดแย้งว่า การให้ทาน ตามคติทางพุทธศาสนานั้น ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ
แต่อย่าลืมว่าพุทธศาสนาในล้านนาเป็นศาสนาที่หลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมเดิมจนกลายเป็นบุคลิกของล้านนาพุทธไปแล้ว พิธีกรรมตามประเพณีต่างๆกลมกลืนเป็นอัตตลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่พบเห็นกันอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้

ข้อปฏิบัติควรให้ถูกต้องตามประเพณีเดิมที่วางไว้ ซึ่งถ้าประมวลจากคัมภีร์มูละขึด จะมีอยู่ ๑๐ ข้อ

1. อย่าถวายตุงเมื่ออายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี
2. ถวายตุงให้ครบชุด คือ ตัวตุง ค้างแขวน และเสาตุง
3. อย่าถวายตุง เมื่อมีหญิงมีครรภ์อาศัยอยู่ในบ้าน
4. อย่าติดตั้งตุง โดยไม่มีเหตุทางบุญใหญ่ เช่นงานปอย
5. ตอกหลักก่อน แล้วมัดเสาตุงติดหลัก เมื่อติดตั้งตุง
6. อย่าขุดหลุมฝังเสาตุง
7. อย่าแขวนตุงบนกิ่งไม้ ปลายไม้
8. ติดตั้งตุงตามพิธีแล้วอย่าโยกย้าย
9. ตราบใดที่ตุงยังไม่หลุดขาดจากค้างแขวน อย่าถอดถอน หรือรื้อทำลาย
10. อย่าติดตั้งช่อ ตุงหรือแขวนโคมไฟในบ้านเรือน

ข้อปฏิบัติดังกล่าวมีบางข้อที่ไขว้เขวกันมากในปัจจุบัน เช่นการติดตั้งตุง บางแห่งมีการแขวนไว้กับกิ่งไม้ แขวนไว้กับเสาไฟฟ้า ผูกติดเสารั้ว บางคนเห็นว่าเสร็จงานแล้วก็รีบรื้อถอน หรือเห็นว่าสวยดีจึงริบเก็บเอาเป็นสมบัติของตน บางแห่งติดตั้งตุง ช่อหรือโคมไฟไว้ในบ้านเรือน ด้วยเห็นว่าสวยงาม







แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-56(500)/page2-3-56(500).html

ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน

ราชวงศ์ทิพย์จักร (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน)


ราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ทิพจักราธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครลำปาง นครเชียงใหม่ และนครลำพูน ในฐานะเมืองประเทศราชของสยามประเทศ สถาปนาขึ้นโดยพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)

ราชวงศ์ทิพย์จักร ได้รับการสถาปนาขึ้นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งอาณาจักรอยุธยา โดย "หนานทิพช้าง" ควาญช้างและพรานป่าผู้มีความสามารถ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองนครลำปาง มีพระนามว่าพระญาสุลวะฦๅไชย ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามจากราชสำนักกรุงอังวะเป็นพระยาไชยสงคราม ถือเป็นนครรัฐอิสระในปี พ.ศ. 2275

เมื่อถึงแก่พิราลัย นายชายแก้วพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ ได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าชายแก้ว ซึ่งในช่วงดังกล่าวนครลำปางมีฐานะเป็นประเทศราชของพม่า โดยพระเจ้ากรุงอังวะได้โปรดฯ เฉลิมพระนามให้เป็นเจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว

เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครลำปาง พระโอรสพระองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าชายแก้ว ได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ และ "พระยาจ่าบ้าน" เจ้านครเชียงใหม่ กอบกู้ล้านนาภายใต้การสนับสนุนจากทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2317 ซึ่งในครั้งนั้นได้โปรดฯ ให้ "เจ้าพระยาจักรี"และ "เจ้าพระยาสุรสีห์" ยกกองทัพไปช่วยปราบพม่า เมื่อยึดนครเชียงใหม่และนครลำปางได้แล้ว จึงโปรดฯ ให้พระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการครองนครเชียงใหม่ และเจ้ากาวิละเป็นพระยานครลำปาง ในการรบครั้งนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้พบรักกับเจ้าศรีอโนชา พระขนิษฐาของพระยากาวิละ และได้ทูลขอจากเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงศรีอโนชาได้สร้างวีรกรรมสำคัญยิ่งในการปกป้องพระนครจากพระยาสรรค์ ซึ่งก่อการกบฏต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ พระสวามีติดการสงครามที่เขมร หลังจากปกป้องพระนครเสร็จ ได้เชิญเจ้าพระยาจักรีกลับพระนครและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในคราเดียวกันนั้นได้โปรดฯ สถาปนา "เจ้าพระยาสุรสีห์" พระอนุชาขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดฯให้ พระยากาวิละขึ้นครองนครเชียงใหม่ (ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากพม่าได้เข้ามารุกรานจนพระยาจ่าบ้านต้องพาประชาชนอพยพหนี) โปรดฯ ให้พระยาคำโสม พระอนุชาพระองค์ที่ 2 ขึ้นครองนครลำปาง และ โปรดฯ ให้ เจ้าคำฝั้น พระอนุชาพระองค์ที่ ๓ ขึ้นครองนครลำพูน ตลอดต้นรัชสมัยที่ครองนคร เจ้ากาวิละได้ร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 พระองค์ กระทำการสงครามเพื่อขยายขอบเขตขัณฑสีมาออกไปอย่างขจรขจาย ได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินจากหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาสร้างบ้านแปงเมือง รวมทั้งได้ทรงรื้อฟื้นโบราณราชประเพณีทุกอย่างให้กลับมายิ่งใหญ่เหมือนสมัยราชวงศ์มังรายครองอาณาจักรล้านนา ด้วยพระปรีชาสามารถและความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดฯ เฉลิมพระอิสริยยศพระยากาวิละขึ้นเป็นพระบรมราชาธิบดี พระเจ้านครเชียงใหม่ เป็นใหญ่ในล้านนา 57 หัวเมือง

ราชวงศ์ทิพย์จักรถือเป็นราชวงศ์ล้านนาที่เชื่อมความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ล้านนาอันเก่าแก่เดิม อันได้แก่ ราชวงศ์มังรายอันมีพญามังรายมหาราชเป็นองค์ปฐมวงศ์ และราชวงศ์พะเยา พญางำเมือง ด้วยระบบความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ

นอกจากนั้น เจ้านายในพระราชวงศ์ทิพย์จักรยังได้อภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์ พระองค์ที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายา และเจ้าดารารัศมี พระราชชายา

ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสองพระราชวงศ์ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระราชอาณาจักรล้านนาเดิมได้เข้ารวมกับสยามประเทศอย่างสมบูรณ์

ลำดับสกุลวงศ์

ชั้น 1 องค์ปฐมวงศ์

1.พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง), ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองนครเขลางค์ (ลำปาง) นครรัฐอิสระ (2275 - 2302)

ชั้น 2 พระราชบุตรในพระยาไชยสงคราม

1.นายอ้าย
2.เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เจ้าผู้นครเขลางค์ (ลำปาง) ประเทศราชของพม่า (2302 - 2317), เป็นพระราชบิดาใน"พระเจ้ากาวิละ" ด้วยพระราชโอรสทั้ง 7 พระองค์ ทรงมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ราชอาณาจักรล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" หรือ "เจ้าเจ็ดองค์"
3.นางคำทิพ
4.นางคำปา
5.นายพ่อเรือน บิดาในพระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 4
6.นางกม (กมลา)

เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (2325 - 2482)


1.พระเจ้ากาวิละ ปีที่ครองราชย์ 2325 - 2356 (31 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
2.พระยาธรรมลังกา ปีที่ครองราชย์ 2356 - 2365 (11 ปี)
3.พระยาคำฟั่น ปีที่ครองราชย์ 2366 - 2368 (2 ปี)
4.พระยาพุทธวงศ์ ปีที่ครองราชย์2369 - 2389 (20 ปี)
5.พระเจ้ามโหตรประเทศ ปีที่ครองราชย์ 2390 - 2397 (7 ปี)
6.พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ ปีที่ครองราชย์ 2399 - 2413 (14 ปี)
7.พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ปีที่ครองราชย์ 2416 - 2439 (23 ปี)
8.เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ปีที่ครองราชย์ 2444 - 2452 (8 ปี)
9.เจ้าแก้วนวรัฐ ปีที่ครองราชย์ 2454 - 2482 (28 ปี)

เจ้าผู้ครองนครลำปาง (2275 - 2465)


1.พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง ปีที่ครองราชย์2275 - 2306 (31 ปี) สมัยกรุงศรีอยุธยา
2.เจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ปีที่ครองราชย์ 2306 - 2317 (11 ปี)สมัยกรุงศรีอยุธยา
3.พระยากาวิละ ปีที่ครองราชย์ 2317 - 2325 (8 ปี) สมัยกรุงธนบุรี
4.พระยาคำโสม ปีที่ครองราชย์ 2325 - 2337 (12 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
5.พระเจ้าดวงทิพย์ ปีที่ครองราชย์ 2337 - 2366
6.พระยาไชยวงศ์ ปีที่ครองราชย์ 2369 - 2380
7.พระยาขัติยะ ปีที่ครองราชย์ 2380 - 2380
8.พระยาน้อยอินท์ ปีที่ครองราชย์ 2381 - 2391
9.เจ้าวรญาณรังษี ปีที่ครองราชย์ 2399 - 2414
10.เจ้าพรหมาภิพงษธาดา ปีที่ครองราชย์ 2416 - 2435
11.เจ้านรนันทไชยชวลิต ปีที่ครองราชย์ 2435 - 2438
12.เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ปีที่ครองราชย์ 2440 - 2465
13.เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ปีที่ครองราชย์ 2465 - 2468 (3 ปี)ผู้รั้งตำแหน่งเจ้านครลำปาง

เจ้าผู้ครองนครลำพูน (2348 - 2486)

1.พระยาคำฟั่น ปีที่ครองราชย์ 2348 - 2358 (10 ปี) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
2.พระเจ้าบุญมา ปีที่ครองราชย์ 2358 - 2370 (12 ปี)
3.พระยาน้อยอินท์ ปีที่ครองราชย์ 2370 - 2380 (10 ปี)
4.พระยาคำตัน ปีที่ครองราชย์ 2381 - 2384 (3 ปี)
5.พระยาน้อยลังกา ปีที่ครองราชย์ 2384 - 2386 (2 ปี)
6.เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ ปีที่ครองราชย์ 2391 - 2414(23 ปี)
7.เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ bปีที่ครองราชย์ 2414 - 2431 (17 ปี)
8.เจ้าเหมพินธุไพจิตร ปีที่ครองราชย์ 2431 - 2438 (7 ปี)
9.เจ้าอินทยงยศโชติ ปีที่ครองราชย์ 2438 - 2454 (16 ปี)
10.เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ปีที่ครองราชย์ 2454 - 2486 (32 ปี)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อาณาจักรหริภุญชัย



อาณาจักรหริภุญชัย


 (ประมาณ พ.ศ. 1206-1835) ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วต่อมาได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมจากเมืองละโว้(ลพบุรี)ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวี ได้นำพระสงฆ์ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่างๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมาก ราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้ เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่า เป็น“อาณาจักรกษัตริย์หญิง หนี่ว์ หวัง กว๋อ(女王國)”

ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราช กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์

รายนามกษัตริย์ ครองเมืองหริภุญชัย


๑. พระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์
๒. พระมหันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๑ ครองเมืองลำพูน
   พระอนันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๒ ครองเมืองลำปาง
๓. พระยากูมัญญาราช
๔. พระยาสุทันตะ
๕. พระยาสุวรรณมัญชุ
๖. พระยาสังสาระ
๗. พระยาปทุมราช
๘. พระยากุลเทวะ
๙. พระยาธรรมมิกราช
๑๐. พระยามิลักขะมหาราช
๑๑. พระยาโนการาช
๑๒. พระยาพาลราช
๑๓. พระยากุตตะราช
๑๔. พระยาเสละราช
๑๕. พระยาอุตตราช
๑๖. พระยาโยจะราช
๑๗. พระพรหมมทัตราช
๑๘. พระยามุกขะราช
๑๙. พระยาตระ
๒๐. พระยาโยวราช
๒๑. พระยากมะละราช
๒๒. พระยาจุเลระ
๒๓. พระยาพินไตย
๒๔. พระยาสุเทวราช
๒๕. พระยาเตโว
๒๖. พระยาไชยะละราช
๒๗. พระยาเสละ
๒๘. พระยาตาญะราช
๒๙. พระยาสักกีราช
๓๐. พระยานันทะสะ
๓๑. พระยาอินทวระ
๓๒. พระยารักนะคะราช
๓๓. พระยาอิทตยราช
๓๔. พระยาสัพพสิทธิ์
๓๕. พระยาเชษฐะราช
๓๖. พระยาจักกะยะราช
๓๗. พระยาถวิลยะราช
๓๘. พระยาการาช
๓๙. พระยาสิริปุญญาราช
๔๐. พระยาเลทะนะราช
๔๑. พระยาตัญญะราช
๔๒. พระยาไทยอำมาตะ
๔๓. พระยาอำมาตปะนะ
๔๔. พระยาทาวะมะ
๔๕. พระยากราช
๔๖. พระยาเยทะ
๔๗. พระยาอ้าย
๔๘. พระยาเสตะ
๔๙. พระยายีบา (เป็นองค์สุดท้ายราชวงศ์จามเทวี)

ในปี พ.ศ. 2324 ภายหลังจากที่พระเจ้ากาวิละ ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้านครเชียงใหม่ ขณะนั้นนครลำพูนยังคงเป็นเมืองร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2357 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยาราชวงษ์ (คำฟั่น) พระอนุชาในพระเจ้ากาวิละไปสร้างนครลำพูนขึ้นใหม่ และครองราชย์เป็นพระยานครลำพูนไชย เป็นพระยานครลำพูนองค์แรก นับแต่ พ.ศ. 2357 จนถึง พ.ศ. 2475 (การเปลี่ยนแปลงการปกครอง)


นครลำพูนมีเจ้าหลวงครองนคร จำนวน 10 พระองค์ ได้แก่


1.พระยาคำฟั่น




พระยาคำฟั่น หรือ พระญาคำฝั้น หรือพระนามเต็มว่า "เจ้ามหาสุภัทรราชะ" ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2358 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2368 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

พระยาคำฟั่น เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 8 ในเจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2 กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักร" (เชื้อเจ้าเจ็ดตน) พระยาคำฟั่น เป็นพระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ มีพระเชษฏา พระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

- พระเจ้ากาวิละ พระเจ้านครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 1 (นับเป็น "เจ้านครลำปาง องค์ที่ 3" ในราชวงศ์ทิพย์จักร
- พระยาคำโสม พระยานครลำปาง องค์ที่ 4
- พระยาธรรมลังกา พระยานครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
- พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้านครลำปาง องค์ที่ 5
- เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
- เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
- เจ้าอุปราชหมูหล้า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
- พระยาคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
- เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
- พระเจ้าบุญมา พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

เจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับ แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง (หรือ เมืองกันตะระวดี) อันเป็นดินแดนกะเหรี่ยงที่รุ่งเรืองและร่ำรวยมากไปด้วยไม้ขอนสักอันล้ำค่า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้รับพระราชทานพระนามอันเป็นมงคลยิ่งแก่แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ว่า "แม่เจ้าเนตรนารีไวยมหาเทวี" แม่เจ้าตาเวยราชเทวี ได้รับมรดกส่วนพระองค์ ในฐานะราชธิดาเจ้าฟ้าเมืองยางแดง เป็นที่ดินป่าไม้ขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 400,000 กว่าไร่ ซึ่งปัจจุบันที่ดินดังกล่าวราชสำนักสยามได้ตัดสินให้เป็นป่าไม้ชั้น 2

พระยาคำฝั้น ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368


2.พระเจ้าลำพูนไชย (บุญมา)




พระเจ้าลำพูนไชย (พ.ศ. 2303 - พ.ศ. 2370) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนพระองค์ที่ 2 ครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 2358 ถึงปี พ.ศ. 2370 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตนต้นราชวงศ์ทิพย์จักร

พระเจ้าลำพูนไชย หรือ พระเจ้านครลำพูนบุญมา มีพระนามเดิมว่า เจ้าบุญมา ประสูติเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2303 เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในเจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว มีพระเชษฐาและพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน")


3.พระยาน้อยอินท์






เจ้าหลวงน้อยอินทร์ หรือ "พระยาน้อยอินท์" เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3 เป็นราชบุตรของพระเจ้าคำโสม องค์ที่ 3 เป็นพระอนุชาเจ้าหลวงขัติยะ

เจ้าน้อยอินทร์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าหลวงนครลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2370 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2381 เจ้าหลวงขัติยะ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ถึงแก่พิราลัย รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าหลวงน้อยอินทร์ ไปเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางในปีเดียวกัน

เจ้าหลวงน้อยอินทร์ ถึงแก่พิราลัยเมื่อเดือน 2 ศักราช 1210 ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2391 รวมเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน 11 ปี และครองนครลำปาง 10 ปี 


4.พระยาคำตัน


เจ้าหลวงคำตัน เป็นพระโอรสในพระเจ้าบุญมาเมืองเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 2 กับแม่เจ้าจันทาราชเทวี เมื่อเจ้าหลวงน้อยอินทร์ถึงแก่พิราลัย จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เจ้าหลวงคำตัน ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน เมื่อพระองค์ถึงแก่พิราลัยในปีพ.ศ. 2384 เจ้าหลวงธรรมลังกาพระอนุชาของพระองค์ จึงได้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนแทนพระองค์


5.พระยาน้อยลังกา




เจ้าหลวงธรรมลังกา หรือ พระยาน้อยลังกา (? - พ.ศ. 2386) เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 5 ครองนครลำพูนในระหว่างปี พ.ศ. 2384 ถึง พ.ศ. 2386 รวมระยะเวลาครองนคร 2 ปี

พระประวัติ


เจ้าหลวงธรรมลังกา มีพระนามเดิมว่า "เจ้าน้อยลังกา" เป็นราชโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าบุญมาเมือง เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2 ได้เข้ารับราชการตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุญมาเมือง ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองแก้ว นครลำพูนไชย เมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าน้อยลังกา ได้ช่วยบิดาก่อสร้างเมืองลำพูน ดูแลรักษาบำรุงเมือง และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือเจ้าหลวงน้อยอินทร์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3 ในการพัฒนาบ้านเมือง

ต่อมาในสมัยของเจ้าหลวงคำตัน เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 4 ได้มอบหมายให้เจ้าน้อยลังกา เป็นแม่ทัพคุมกำลังทหารไปรวมกับกำลังของเมืองเชียงใหม่ ในระหว่าง พพ.ศ. 2381 ถึง พ.ศ. 2382 ไปตีเมืองสาด เมืองต่วน และเมืองปุเป็นผลสำเร็จ

เจ้าน้อยลังกา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2384 และถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2386


6.เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ




เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 6 พระองค์ปกครองลำพูนในระหว่างปี พ.ศ. 2386 - พ.ศ. 2414 รวมระยะเวลาการปกครองทั้งหมด 28 ปี ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนที่ปกครองลำพูนยาวนานเป็นอับดับที่ 2 รองจากเจ้าจักรคำขจรศักดิ์

พระราชประวัติ


เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เป็นราชโอรสในเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้นเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 กับแม่เจ้าคำแปงราชเทวี ทรงปกครองลำพูนหลังจากที่เจ้าหลวงธรรมลังกาถึงแก่พิราลัย จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนเมื่อปีพ.ศ. 2386 พระองค์ทรงปกครองลำพูนอยู่ 28 ปี พระองค์ก็ถึงแก่พิราลัยในปีพ.ศ. 2414 เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ราชโอรสของพระองค์ จึงได้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนแทนพระองค์


7.เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์






เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ หรือ เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ วรโมษกิติโสภณวิมลคุณ หริภุญไชยมหาเจดีย์บูชากร ราษฎรธุระธาดาประดิษฐบดี เจ้าลำพูนไชย มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยดาวเรือง ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับแม่เจ้าโก๊ะราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 กับแม่เจ้าคำแปงราชเทวี

เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ ทรงเป็นราชโอรสพระองค์เดียวใน แม่เจ้าโก๊ะราชเทวี เสด็จขึ้นครองนครลำพูน ใน พ.ศ. 2414 และถึงแก่พิราลัยด้วยอาการไข้ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2434 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 20 ปี


8.เจ้าเหมพินธุไพจิตร




เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 แห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"


พระราชประวัติ


เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร มีพระนามเดิมว่า เจ้าคำหยาด ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับ แม่เจ้าคำจ๋าราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 กับ แม่เจ้าคำแปงราชเทวี

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ทรงมีราชอนุชา และราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 3 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

- เจ้าหญิงแสน ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าหนานยศ ณ ลำพูน"
- เจ้าน้อยบุ ณ ลำพูน
- เจ้าน้อยหล้า ณ ลำพูน - พิราลัยแต่เยาว์

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้เสด็จขึ้นครองนครลำพูน ใน พ.ศ. 2431 ต่อจาก เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ ราชเชษฐาต่างราชมารดา และเสด็จพิราลัยในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439[1] รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 5 ปี


9.เจ้าอินทยงยศโชติ






เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ ทรงเป็น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 แห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"

เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 กับ แม่เจ้าปิมปาราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับ แม่เจ้าโก๊ะราชเทวี

เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ ทรงเป็นราชโอรสพระองค์เดียวใน แม่เจ้าปิมปาราชเทวี ได้เสด็จขึ้นครองนครลำพูน ใน พ.ศ. 2438 และเสด็จพิราลัยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2454 (หรือปี พ.ศ. 2553 หากนับวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นศักราชใหม่) รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 16 ปี


10.เจ้าจักรคำขจรศักดิ์







พลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ทรงเป็น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 แห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"


พลตรีมหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ หรือ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน ทรงราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2417 ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 กับ แม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้วราชเทวี (อิศรเสนา) และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 กับ แม่เจ้าปิมปาราชเทวี

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ทรงมีราชภคินีและราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 2 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

- เจ้าหญิงมุกดา ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าราชภาคินัย น้อยเมืองไทย ณ ลำพูน, เจ้าราชภาคินัยนครลำพูน" (ราชภคินี)
- เจ้าหญิงหล้า ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าน้อยจิตตะ ณ ลำพูน" ภายหลังเป็น ชายา "เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ น้อยพุทธวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำพูน" (ราชขนิษฐา) เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้เสด็จขึ้นครองนครลำพูน ในปี พ.ศ. 2454 ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 รัชสมัย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ดำเนินนโยบายยกเลิกตำแหน่งเจ้าหลวง หากเจ้าหลวงเมืองใดว่างลงจะไม่โปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นอีก แต่ก็ยังให้ความสำคัญในการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง เจ้านายฝ่ายเหนือ ก็ยังคงดำรงสถานะความเป็น "เจ้า" โดยกำเนิดต่อไป

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2486 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 32 ปี สิริพระชนมายุได้ 69 ชันษา


ปัจจุบันโบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยนั้นก็คือ พระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมอาณาจักรมอญโบราณอยู่




วัดจามเทวี 



อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี




ไม้เมือง - ลังกาพินธุ์
เรียบเรียง /คำร้อง/ทำนอง ประเสริฐ ศรีกิจรัตน์


ลังกาพินธุ์ ชื่อสกุลนครลำพูน
สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครเมินมา
เจ้าเมืองผู้บากบั่น พลิกฟื้นดินไร่นา
พุทธศาสนา รุ่งเรืองรอง

เจ้าเหมพินธุ์ ไพจิตร โสภิตดั่งทอง
เจ้าผู้ครององค์ที่แปดต่อเชษฐา
อุปราชคำหยาด บุตรเจ้าแม่คำจ๋า
ต้นตระกูลกู้ฟ้า ลังกาพินธุ์

ก่อด้วยทอง สืบด้วยทองร้อยปีผ่านมา
สกุลตรา ราชบพิตรสถิตสมัย
สายเลือดลังกาพินธุ์ยังสีทองอำไพ
ตราบเท่าฟ้าพิราลัย ใจคงรูปทอง

ก่อด้วยทอง สืบด้วยทองร้อยปีผ่านมา
สกุลตรา ราชบพิตรสถิตสมัย
สายเลือดลังกาพินธุ์ยังสีทองอำไพ
ตราบเท่าฟ้าพิราลัย ใจคงรูปทอง

เจ้าเจ็ดตน กู่ก้องดั่งฆ้องมนต์
แผ่กังวาลไพรสนก้องเกริกฟ้า
ทั่วสิบทิศ กิตติศัพท์ ร้อยปีผ่านพ้นมา
สืบรักษาคงค่า ลังกาพินธุ์
ทั่วสิบทิศ กิตติศัพท์ ร้อยปีผ่านพ้นมา
สืบรักษาคงค่า ลังกาพินธุ์



ตำนานยอง ขับร้องโดย ตู่ ดารณี



แหล่งข้อมูลอ้างอิง 
http://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/data_king_family/History/Hariphunchai_Kingdom.htm