วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตำนานรักเเห่งล้านนา

ตำนานรักเเห่งล้านนา

เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ


ร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม
เจ้าน้อยศุขเกษม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2423 เป็นราชโอรสองค์โตในเจ้าแก้วนวรัฐ กับแม่เจ้าจามรีมหาเทวี มีน้องสาว และน้องชาย คือ เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ และเจ้าวงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่

เจ้า (น้อย) ศุขเกษม ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๕๒-๒๔๘๒) กับแม่เจ้าจามรี ขณะนั้นเชียงใหม่เป็นประเทศราชของสยาม ทางเชียงใหม่ส่ง เจ้าดารารัศมี ซึ่งเป็นเจ้าอาของเจ้าน้อย ไปอภิเษกกับ ร. ๕ เป็นการผูกสัมพันธ์ ขณะนั้นเจ้าดารารัศมีอายุแค่ ๑๓ ปี เจ้าน้อยถูกส่งตัวไปเรียนที่รร.เซนต์แพทริก เป็น รร.แคธอลิกของฝรั่งที่พม่า ขณะนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษซึ่งมีเรื่องกับไทยอยู่ 


วันหนึ่งเจ้าน้อยได้เดินเที่ยวตามห้างร้านในตลาด จึงได้พบกับมะเมียะ แม่ค้าขายบุหรี่ซะเล็กอยู่ที่ตลาดใกล้บ้านในเมืองมะละแหม่ง มะเมียะหารายได้ด้วยความหวังเพื่อจะได้เงินมาจุนเจือครอบครัว ซึ่งอยู่ในฐานะปานกลาง ทั้งคู่เกิดถูกใจในกันและกัน จึงได้คบหากันเรื่อยมา หลังจากนั้นไม่นานทั้งสองจึงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ และในวันพระทั้งสอง จะพากันไปทำบุญตักบาตรและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุตามสถานที่ต่างๆ ในเมืองมะละ แหม่งอยู่เสมอ



วันหนึ่ง ณ ลานกว้างหน้าพระธาตุใจ้ตะหลั่น ทั้งสองได้กล่าวคำสาบานต่อกันว่าจะรักกันตลอดไป และจะไม่ทอดทิ้งกัน หากผู้ใดทรยศต่อความรักที่มีให้กัน ก็ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น จากนั้นไม่นานก็ถึงกำหนดการเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าน้อยฯ เพิ่งจะมีอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้ตัดสินใจให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายติดตามขบวนเพื่อกลับไปยังเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า โดยหารู้ไม่ว่าเจ้าพ่อและเจ้าแม่ของตนได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้า สุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยฯ เป็นการภายในตั้งแต่ปีที่เจ้าน้อยฯ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองพม่า



เจดีย์ไจตะหลัน / วัดไจ๊ตาลาน


เรื่องนี้ทราบความไปยังกรุงเทพ รัชกาลที่ ๕ และเจ้าดารารัศมีเห็นว่าไม่ควร เลยส่งผู้สำเร็จราชการมาเจรจา บอกว่าเจ้าน้อยจะมีเมีย กี่คนก็ได้แต่แต่ต้องไม่ใช่สาวพม่า เพราะว่าคนพม่า ถือสัญชาติอังกฤษ เดี๋ยวอังกฤษจะถือโอกาสแทรกแซง ว่าแต่งกะพม่า ก็ต้องถือว่าเป็นพม่าด้วย ที่สำคัญเจ้าน้อย เป็นเจ้าชายของล้านนา ถูกวางตัวไว้ให้เป็นรัชทายาทล้านนา เท่ากับว่าสยามอาจต้องเสียเชียงใหม่ให้อังกฤษ ก็เลยบังคับส่งมะเมี้ยะกลับพม่า 


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)



พระราชชายาเจ้าดารารัศมี


เจ้าน้อยสัญญาว่า อีก๓ เดือนจะไปรับมะเมี้ยะกลับ ทั้งคู่สาบานกันไว้ว่าจะไม่รักใครอื่น หากใครผิดคำสาบานขอให้อายุสั้น ตอนนั้นมะเมี้ยะโพกผมไว้พอจะไปก็ก้มลงกราบเท้า เจ้าน้อยที่ประตูเมือง ชาวบ้านออกมามุงกันทั้งเมืองเพราะได้ยินว่ามะเมี้ยะงามนัก พอกราบเสร็จ ก็เอาผ้าโพกผมออก แล้วสยายผมเอามาเช็ดเท้าเจ้าน้อย จงรักภักดีบูชาสามีสุดชีวิต แล้วก็กอดขาร้องไห้ เจ้าน้อยเองก็ร้อง ทำเอาคนที่มามุงร้องไห้ ไปทั้งเมืองด้วยความสงสารความรักของทั้งคู่

เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้มอบเงินทองจำนวนหนึ่งซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีมอบให้นางก่อนเดินทางกลับเป็นการปลอบขวัญแก่พ่อแม่และน้อง จากนั้นนางได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อยฯ จนครบกำหนด เดือนที่ท่านได้รับปากไว้ แต่นี่กระไรกลับไร้วี่แววใดๆ มะเมียะจึงตัดสินใจเข้าพึ่งใต้ร่มพุทธจักร ครองตนเป็นแม่ชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังซื่อสัตย์ ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม


หลังจากที่มะเมียะทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรส ระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อยฯ ในขณะนั้น) กับเจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยฯ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ องค์อดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่ตนจะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต แต่เจ้าน้อยศุขเกษมผู้ยึดสุราเป็นที่พึ่งดับความกลัดกลุ้มอันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ ชีวิตที่ไม่เคยมีความสุขในชีวิตสมรส ท่านไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้อง เพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูง พี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน ๘๐บาท ไปมอบให้กับแม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าน้อยฯ ให้กับแม่ชีมะเมียะ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทำให้มะเมียะและเจ้าน้อยต่างสะเทือนใจเป็นที่สุด หลังจากเดินทางถึงเมืองมะละแหม่ง มะเมียะได้ครองชีวิตเป็นแม่ชีตามความตั้งใจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.๒๕๐๕ รวมอายุได้ ๗๕ ปี เจ้าน้อยศุขเกษมสิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2456 โดยมีพิธีปลงพระศพ ในวันที่ 31 สิงหาคมของปีเดียวกัน


เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่




กู่เจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่)


เพลง : มะเมี๊ยะ
ขับร้องโดย สุนทรี เวชานนท์


(พูด)..... 
เรื่องมันเก้าสิบปี๋มาแล้ว 
เจ้าน้อยสุขเกษมอายุได้สิบห้าปี๋ 
เจ้าป้อก็ส่งไปเฮียนหนังสือ 
ตี้เมืองมะละแมงปู้น... 
ก็เลยเป๋นเรื่องของก๋ำของเวรเขา


(ร้อง)มะเมี๊ยะ เป๋นสาวแม่ก้า คนพม่า เมืองมะละแมง 
งามล้ำ เหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่ง หลงฮักสาว. 
มะเมี๊ยะ บ่ยอมฮักไผ มอบใจ๋ ฮื้อหนุ่มเจื้อเจ้า. 
เป๋นลูก อุปราชท้าว เจียงใหม่


แต่เมื่อ เจ้าชาย จบก๋าน ศึกษา 
จ๋ำต้อง ลาจาก มะเมี๊ยะไป. 
เหมือนโดน มีดสับ ดาบฟัน หัวใจ๋ 
ปลอมเป๋น ป้อจาย หนีตามมา


เจ้าชายเป๋นราชบุตร แต่สุด ตี้ฮักเป๋นพม่า 
ผิดประเพณี สืบมา ต้องร้าง ลา แยกทาง 
วันตี้ต้อง ส่งคืนบ้านนาง เจ้าชาย ก็จัดขบวนช้าง 
ไปส่งนาง คืน ทั้งน้ำตา

มะเมี๊ยะ ตรอมใจ๋ อาลัย ขื่นขม 
ถวาย บังคม ทูลลา. 
สยาย ผมลง เจ๊ดบาท บาทา 
ขอลา ไปก่อน แล้วจ้าดนี้.


เจ้าชายก็ตรอม ใจ๋ตาย มะเมี๊ยะเลยไป บวชชี 
ความฮัก มักเป๋นเช่นนี้ แล เฮย




เพลงเจ้าน้อยศุขเกษม อาจารย์ขวัญชัย พิพัฒน์พงษ์ หน่อขัด ประพันธ์ขึ้นจากแรงบันดาลใจ ที่ได้เห็นภาพของเจ้าน้อยผู้สง่างามแต่เต็­มไปด้วยใบหน้าที่ห่วงหาอาลัย ด้วยความรักที่มีต่อนางมะเมี๊ยะอย่างสุดซึ­้ง ซึ่งแม้นตัวไกลแต่ใจใกล้ ตัวตายแต่ใจยังรัก การพลัดพรากของทั้งสองคนครั้งนั้นถูกเล่าข­านเป็นตำนานรักอันยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ไม่มีใครเหมือนแม้นได้ในความรักที่ชอกช้ำ น้ำตา ความอาลัย หลายคนมองเห็นความเสียใจของนางมะเมี๊ยะจาก­เพลงของอาจารย์จรัล มโนเพชร แต่หากอาจารย์พิพัฒน์พงษ์ หน่อขัด ได้มองเห็นความทุกข์ระทมอันยากจะเยียวยาได­้ของหัวใจเจ้าน้อยศุขเกษม กลั่นเอาคำร้องออกมาจากใจ ลงมือทำเพลงทำนองสร้อยสนตัดให้ได้อารมณ์แล­ะบรรยากาศแห่งความเศร้านั้น ...ฝากไว้เป็นรอยอาลัย ฝากไว้เพื่อใครสักคนได้คิดถึง ฝากไว้เป็นรักที่ตราตรึง ไม่มีคำใดจะซึ้งเท่าน้ำตา นี่คือความในใจ







แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/
http://hilight.kapook.com/view/79520

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น